๓๖๙. สภาสตรีแห่งชาติฯร่วมเป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรม ท่านเกื้อกูล เตือนกุล อดีตรองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๑

วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นำคณะสภาสตรีแห่งชาติฯ ประกอบด้วยคณะกรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติฯ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ นายกองค์กร และสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม นางเกื้อกูล เตือนกุล อดีตเลขาธิการ สภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๐ และรองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๑

ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจากที่ปรึกษาสภาสตรีแห่งชาติฯ ประกอบด้วย พลตรีหญิง คุณหญิง อัสนีย์ เสาวภาพ ประธานที่ปรึกษาคณะ กรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์ฯ และท่านยุวดี นิ่มสมบุญ ดร.เรือนแก้ว กุยยากานนท์ แบรนด์ท เข้าร่วมในพิธีสวดพระอภิธรรม ท่านเกื้อกูล เตือนกุล ณ ศาลา 7 วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ



๓๖๘. สภาสตรีแห่งชาติจัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการ สมัยที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓

วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ สมัยที่ ๒๖(พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๔) โดยได้รับเกียรติจาก นางยุวดี นิ่มสมบุญ ที่ปรึกษาสภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯเข้าร่วมประชุม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯและรองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ นางสุกัญญา ประจวบเหมาะ ดร.ลาลีวรรณ กาญจนจารี อาจารย์ศรีวรรณ สายฟ้า และ อาจารย์สมจิตร ศิริเสนา เลขาธิการสภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการบริหาร เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ณ ห้องประชุม ๒ อาคารบ้านพระกรุณานิวาสน์ ถ.สุโขทัย กรุงเทพฯ

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ มีวาระ สรุปได้พอสังเขปดังนี้ ประธานที่ประชุม แจ้งเรื่อง”โครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน “นับตั้งแต่ สภาสตรีแห่งชาติฯ ลงนาม MOU กับ กรมการพัฒนาชุมชน เมื่อ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ โดยได้รับการสนับสนุนจัดทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงไปแล้ว ๖๒ จังหวัด อีก ๓ องค์กร ปัจจุบันใกล้ที่จะลงนามบันทึกความร่วมมือร่วมใจรณรงค์คนไทยร่วมใจสวมใส่ผ้าไทยใกล้ครบ ๗๖ จังหวัดแล้ว ทั้งนี้ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ ได้กล่าวขอขอบคุณทุกท่านผู้ส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัด ภาคีเครือข่าย ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และร่วมมือร่วมใจสวมใส่ผ้าไทย จนทำให้ผ้าพื้นบ้านไทยขายดี ทุกจังหวัดสร้างรายได้ให้กับชุนชนอีกด้วย
นอกจากนี้ เป็นเรื่องการรายงานผลจัดงานกาชาด ประจำปี ๒๕๖๒ และเรื่อง การขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินประจำปี ๒๕๖๓ (ช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๖๓) เรื่องการจัดงานวันสตรีไทย ประจำปี
๒๕๖๓ที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ ภายใต้แนวคิด“พระบารมีส่องหล้า ต่อยอดการพัฒนาสตรีไทย” และเรื่องการจัดงานวันสตรีสากล ปี ๒๕๖๓ ภายใต้แนวคิด “๒๕ ปี ปฎิญญาปักกิ่ง : เสริมพลังสตรีสู่ความเสมอภาคอย่างยั่งยืน” ที่จะจัดขึ้น ในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๓ เป็นต้น

ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหาร
สภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๖๗. สภาสตรีแห่งชาติฯร่วมงานเสวนา"พลังสตรีมุสลิม พลังแห่งการพัฒนา"ร่วมกับ ผู้นำสตรีมุสลิม ๔ภาค ๕ องค์กรใน

วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มอบหมายให้อาจารย์ศรีวรรณ สายฟ้า รองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ เข้าร่วมงานเสวนา"พลังสตรีมุสลิม พลังแห่งการพัฒนา"ร่วมกับ ผู้นำสตรีมุสลิม ๔ ภาค ๕ องค์กร ณ มัสยิดนูรุสซอลีฮีน (บ้านหนองบัว) ต.เกาะกลัก อ.เมือง จ. ประจวบคีรีขันธ์

การจัดเสวนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อประสานความรักความสามัคคีและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ประสบการณ์จากการทำงานและความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการสร้างสังคมให้เข้มแข็ง โดยบทบาทสตรีมุสลิมถือมีสำคัญในการขับเคลื่อนงานตามแนวทางของศาสนาที่ได้กำหนดไว้ จึงเชื่อมั่นว่าต้องเกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายและสังคมโดยรวม เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อในหลายด้าน ทั้งการสานสัมพันธ์ระหว่างกัน การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย และการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีการเชื่อมโยงในระหว่างภูมิภาคมากยิ่งขึ้น

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๖๖. กรมการพัฒนาชุมชน เผยข้อมูลผ่านสื่อมวลชน จับมือ สภาสตรีแห่งชาติฯ ปลื้ม ลงนามรณรงค์ใส่ผ้าไทย ๖๒ จังหวัดใน ๑๐๐ วัน เดินหน้าสู่เป้า ๑ แสนล้าน

กรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยข้อมูล ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๒ ถือเป็นวันเริ่มต้นการรณรงค์การสวมใส่ผ้าไทยอย่างเป็นทางการ ภายใต้ “โครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ระหว่างกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
นำโดยนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ ถึงวันนี้ ช่วงเวลา ๑๐๐ วันเดินหน้ารณรงค์ลงนาม MOU แล้ว ๖๒ จังหวัด ผนึกพลัง ร่วมใจสวมใส่ผ้าไทย นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด องค์กรสตรี สถานศึกษา องค์กรภาคเอกชน สมาคม ชมรม ตลอดจนเครือข่ายระดับจังหวัด กลุ่มองค์กร และผู้นำกลุ่มสตรี
นอกจากนี้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปาส่วนภูมิภาค
ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ เปิดเผยว่า “โครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ใกล้ที่จะลงนามบันทึกความร่วมมือร่วมใจรณรงค์คนไทยร่วมใจสวมใส่ผ้าไทยใกล้ครบ ๗๖ จังหวัด ที่ผ่านมาต้องขอขอบคุณทุกท่านผู้ส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัด ภาคีเครือข่าย ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี การร่วมมือร่วมใจสวมใส่ผ้าไทย
สำคัญที่สุดคือการได้สืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พระบรมราชินี ที่พระราชทานพระราชดำรัสในงานวันสตรีไทย เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๒ มีใจความสำคัญว่า พระองค์จะสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระพันปีหลวง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นต่อปวงชนชาวไทย โดยการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ให้ชาวโลกได้ชื่นชม และยังสนับสนุนส่งเสริมการสร้างงานสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรีในท้องถิ่น และต่อยอดภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ผ้าทอไทยทุกผืนเกิดจากการถักทอด้วยลมหายใจของผู้หญิง หากว่าคนไทยเพียง ๓๕ ล้านคนร่วมใจใส่ผ้าไทยทุกวัน และทุกคนซื้อผ้าไทยเพิ่มคนละ ๑๐ เมตรๆละ ๓๐๐ บาท สามารถสร้างเงินหมุนเวียนได้กว่า ๑ แสนล้านบาท
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน มีเป้าหมายสร้าง “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนพึ่งตนเองได้ในปี 2565”นับเป็นภารกิจที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่พี่น้องในชุมชน การรณรงค์สวมใส่ผ้าไทยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาถือว่าประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง ทั้งในในส่วนผู้บริโภค และผู้ผลิต จากที่ได้รับรายงานพบว่าแต่ละจังหวัดมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น สร้างรายได้ให้แก่กลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม คนทอผ้า คนตัดเย็บ คนขายผ้า ตลอดจนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP นับเป็นเป็นห่วงโซ่เศรษฐกิจฐานรากที่สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับครัวเรือน และระดับชุมชน รายได้ที่เกิดจากการจำหน่ายผ้าทอมือ ช่วยสตรียกระดับคุณภาพชีวิต ส่งบุตรหลานให้มีโอกาสเล่าเรียน ดูแลครอบครัวได้เมื่อยามเจ็บป่วย สร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้มีความมั่นคง พึ่งตนเองได้
ด้านผู้ประกอบการ OTOP คุณเฉลิมศรี คันธา ชาวจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ประโยชน์ที่ได้จากการรณรงค์ ตามโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ทำให้ตลาดผ้าไทยในจังหวัดเชียงใหม่ มีความคึกคักขึ้นกว่าแต่ก่อน มีการนำวัตถุดิบพื้นบ้านมาใช้มากขึ้น และมีการสืบสานภูมิปัญญาของชาวบ้าน มาถ่ายถอดการเรียนรู้พื้นบ้าน จากผ้ารุ่นสู่รุ่น และทางศูนย์จัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ได้เปิดโรงเรียนโอทอปสอนเยาวชนในการทอผ้า และประยุกต์ให้มีความทันสมัยสามารสวมใส่ผ้าไทยได้ทุกเพศทุกวัย สำหรับยอดจำหน่ายผ้าในช่วงที่มีการรณรงค์ทำให้ยอดขายดีขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้ได้เปิดจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ผลตอบรับดี พร้อมทั้งกล่าวเชิญชวนคนไทยหันมาสวมใส่ผ้าไทยให้มากขึ้นในทุกวาระโอกาส
คุณดลตวรรณ มณีจันทร์ ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านราชบุรี วัดนาหนอง อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี กล่าวว่า การรณรงค์สวมใส่ผ้าไทยเป็นการอนุรักษ์ศิลปะหัตถกรรมของชนไทยญวนเอาไว้ ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ ช่วยเรื่องการแก้ปัญหาความยากจน เพราะบางชุมชนจะใช้อาชีพนี้เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
ในส่วนของภาคใต้ ผู้ใหญ่วิไล จิตรเวช จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่าโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ทำให้คนที่ทอผ้าได้มีอาชีพเสริมที่มั่นคงขึ้น และได้เห็นคนใส่ผ้าไทยเพื่ออนุรักษ์ผ้าท้องถิ่นไว้ เช่นผ้ายกนคร ผลจากการรณรงค์ทำให้ขายผ้าได้เพิ่มขึ้นทำให้มีกำลังใจ แม้ผู้ชายก็หันมายึดอาชีพทอผ้า พร้อมทั้งได้กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้มีโครงการดีๆอย่างนี้ และขอให้มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผ้าไทยเป็นที่นิยมของชาวไทยและมีอาชีพให้ลูกหลานต่อไป

ขอบคุณที่มา:WWW.Khaosod.co.th
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๖๕. สภาสตรีแห่งชาติฯ แต่งกายผ้าไทยร่วมงานสมโภชฯ “ศุภมงคลสมัย ๑๕๐ ปีแห่งการสถาปนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม”

๒๖ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๖.๓๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มอบหมายให้ นางวิภาศิริ มะกรสาร ประธานฝ่ายศาสนา สภาสตรีแห่งชาติฯ ต้อนรับ คณะสภาสตรีแห่งชาติฯ จำนวน ๕๕ คน ประกอบด้วย ดร.ลาลีวรรณ กาญจนจารี รองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหาร นายกองค์กร และสมาชิก ร่วมจัดงานสมโภช “ศุภมงคลสมัย ๑๕๐ ปี แห่งการสถาปนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม” ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาและมีพิธีก่อพระฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๑๒ หลังจากเสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้ ๑ ปี คำว่า “ราชบพิธ” หมายความว่า “พระราชาทรงสร้าง” เนื่องในศุภมงคลสมัย ๑๕๐ ปี แห่งการพระราชทานสถาปนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร คณะวัดราชบพิธสถิตมหารสีมาราม ประกอบด้วยคณะสงฆ์ นำโดย เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชน ตลอดจนหน่วยงานภาคี ร่วมจัดงานสมโภช “ศุภมงคลสมัย ๑๕๐ ปีแห่งการสถาปนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม”
นางวิภาศิริ กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมเฉลิมฉลองวาระสำคัญ ๑๕๐ ปี แห่งการสถาปนาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม จึงได้จัดวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้ประวัติความเป็นมาและศิลปกรรมอันงดงามวิจิตรภายในวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ซึ่งล้วนเป็นศิลปกรรมชั้นเอก มีความประณีตงดงาม ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติของพระอารามหลวงแห่งนี้ อีกทั้งพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ที่มีกับวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ตลอดจนเผยแพร่เกียรติคุณเจ้าอาวาสในทุกยุคให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน ซึ่งถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่จะได้ตระหนักถึงคุณค่าทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ และความเป็นไทยของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม อันแฝงอยู่ในสถาปัตยกรรมต่างๆ ภายในวัด เพื่อสืบทอดคุณค่าความเป็นไทย และเกิดความภาคภูมิใจในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมไทย
นางวิภาศิริ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจประกอบด้วย “นิทรรศการแสดงเครื่องราชสักการะ” ที่ได้รับพระราชทานถวายในโอกาสต่างๆ และสิ่งของเครื่องใช้ของอดีตเจ้าอาวาสในทุกยุค เช่น ฝาบาตรและเชิงบาตรมุกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พุ่มเงินพุ่มทองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพัดรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 นาฬิกา ทรงคุณค่าหาชมได้ยาก นอกจากนี้ยังมี “นิทรรศการนำชมวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม” ให้ข้อมูลความรู้ทางสถาปัตยกรรมภายในวัด ซึ่งมีความวิจิตรงดงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมสะท้อนความเป็นไทย เช่น พระอุโบสถซึ่งได้รับการออกแบบโดยผสมผสานรูปแบบศิลปกรรมตะวันออก-ตะวันตก และศิลปกรรมไทยรวมกันจนมีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว ภายนอกได้รับการออกแบบโดยนายช่างศิลปกรรมชั้นครูแห่งยุคคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ส่วนสถาปัตยกรรมภายใน ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก มีการตกแต่งเสาและเพดานโค้งแบบโกธิค ตกแต่งด้วยปูนปั้นลายพรรณพฤกษาผสมผสานกับลายไทย และส่วนสำคัญสุดคือ การนำกระเบื้องเบญจรงค์จากประเทศจีนมาประดับอาคารส่วนต่างๆ โดยลายกระเบื้องเป็นฝีมือออกแบบของ พระอาจารย์แดง แห่งวัดหงส์รัตนาราม ซึ่งเขียนลายต้นแบบและส่งไปผลิตที่ประเทศจีน
สภาสตรีแห่งชาติฯ จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนและประชาชนทั่วไปร่วมแต่งกายผ้าไทยเข้าร่วมงานสมโภชฯ ชมนิทรรศการและชมศิลปวัตถุล้ำค่า ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มกราคม – ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ มีกิจกรรม ประกอบด้วย นิทรรศการแสดงเครื่องราชสักการะที่ได้รับพระราชทานถวายในโอกาสต่างๆ “นำชมวัดราชบพิธฯ” ให้ข้อมูลความรู้ทางสถาปัตยกรรมภายในวัด การแสดงแสงเสียงและสื่อผสมซึ่งเป็นการจัดแสดงครั้งแรกในวัดราชบพิธฯ และ ห้องฉายภาพ “ฉายานิติกร” แต่งกายผ้าไทยมาถ่ายรูป เปิดให้บริการวันที่ ๒๔ – ๒๖ มกราคา ๒๕๖๓ และ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๓ และ วันที่ ๑-๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. – ๒๐.๐๐ น. ที่ อาคารภุชงค์ประทานวิทยาสิทธิ์ ๒

ขอบคุณภาพ/ข้อมูล:
ฝ่ายศาสนา สภาสตรีแห่งชาติฯ สมัย ๒๖
สมาคม สวญ.กรุงเทพฯ
ข่าว: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๖๔. สภาสตรีแห่งชาติฯ มอบรางวัลสร้อยคอทองคำให้ผู้โชคดีถูกรางวัลสลากบำรุงสภากาชาดไทย สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์

วันนี้ (๒๔ มกราคม ๒๕๖๓ ) เวลา ๑๐.๓๐ น. นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ และประธานร้านกาชาดสภาสตรีแห่งชาติฯ ประจำปี ๒๕๖๒ มอบหมายให้ นางอรุณศรี จงเจียมจิตต์ กรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติฯ และกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ และนางนันทิยา วงศ์วานิชย์ นายกสมาคมสตรีจังหวัดแม่ฮ่องสอน และกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ ร่วมกันมอบรางวัลที่ ๔ สร้อยคอทองคำหนัก ๑ บาท ให้กับผู้โชคดีนางสาววิจิตรา เกตุเพ็ชร จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งถูกรางวัลจากการซื้อสลากบำรุงสภากาชาดไทย สภาสตรีแห่งชาติฯ ณ บ้านพระกรุณานิวาสน์ ถนนสุโขทัย แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ
สำหรับ การมอบรางวัลครั้งนี้มอบให้กับผู้ถูกรางวัล ที่ 1-3 ได้แก่ รางวัลที่ 1 ทองคำแท่งหนัก 20 บาท หมายเลข 76196 ผู้โชคดีคือ น.ส.วราภรณ์ ศรีสมบุญ จากจ.สุพรรณบุรี รางวัลที่ 2 ทองคำแท่ง หนัก 10 บาท 3 รางวัล ได้แก่ หมายเลข 57891 ผู้โชคดี นางคณิตา ราษฎร์นุ้ย หมายเลข 17373 ผู้โชคดี นางพิณลดา เสกขุนทด และ หมายเลข 31207 ผู้โชคดี นายบุญเรียน สิทธิดา

ขณะที่ รางวัลที่ 3 สร้อยคอทองคำหนัก 2 บาท หมายเลข 29580 ผู้โชคดี นายพิพัฒน์ จันทร์ดอก จากจ.แพร่ หมายเลข 14589 ผู้โชคดี น.ส.อัจฉรา ชูอ่อน จ.ตรัง และ หมายเลข 50646 ผู้โชคดีคือ นายวิชัย เตยหอม จ.อุทัยธานี

สำหรับ ผู้ที่ถูกรางวัลอื่นๆทุกประเภทสามารถอ่านเงื่อนไขการรับรางวัลที่ระบุไว้ในสลาก รางวัลสลากกาชาดไทย สภาสตรีแห่งชาติฯ สำหรับผู้ที่ถูกรางวัลเลขท้าย 4 ตัว 3 ตัวและ 2 ตัวที่ไม่สะดวกเดินทางมารับรางวัลด้วยตนเอง สามารถนำส่งสลากที่ถูกรางวัลตัวจริง พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนและหน้าสมุดบัญชีธนาคารมายังสำนักงานสภาสตรีแห่งชาติฯ ที่อยู่ตามด้านหลังสลากและทางสำนักงานจะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีให้ หลังจากได้รับเอกสารครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว

ภาพ/ข่าว :ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๖๓. ฝ่ายต่างประเทศ สภาสตรีแห่งชาติฯ จัดประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เตรียมพร้อมจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี ๒๕๖๓

วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น. ดร.ลาลีวรรณ กาญจนจารี รองประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมถ์ สมัยที่ ๒๖ ในฐานะประธานฝ่ายต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่างประเทศ สภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ (พ.ศ ๒๕๖๑-๒๕๖๔) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ โดยมีคณะกรรมการฝ่ายต่างประเทศ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องอาหารลียอง ถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
สืบเนื่องจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กำหนดจัดงานวันสตรีสากลได้กำหนดจัดงานวันสตรีสากลประจำปี ๒๕๖๓ ในวันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๓ โดยในส่วนของสภาสตรีแห่งชาติฯ จะมีการเสวนา โครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ในการส่งเสริมผลักดัน พัฒนาศักยภาพของสตรีในทุกมิติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชเสาวณีย์ของสมเด็จพระพันปีหลวง ที่ได้ทรงมีพระวิริยะ อุตสาหะในนำผ้าไหม ผ้าฝ้ายมาส่งเสริมให้คนไทยมีอาชีพจนเกิดเป็นผ้าไทย เพื่อเป็นการรักษา สืบสาน และต่อยอดภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ยกระดับคุณภาพชีวิตสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจครัวเรือน และร่วมกัน ปลุกกระแสความนิยมการแต่งกายผ้าไทยแก่ประชาชนทั่วประเทศ จะช่วยสร้างงานสร้างอาชีพและเสริมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรีในท้องถิ่นชนบทก้าวสู่สากล อีกทั้งยังเป็นแรงผลักดันให้สตรีสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพตนเองได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ มีประเด็นที่ฝ่ายเลขานุการ ขอให้คณะกรรมการได้พิจารณา จำนวน ๖ เรื่อง ประกอบด้วย
๑. งานวันสตรีสากล ในวันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๓
๒. งานฉลองวันชาติคูเวตปีที่ ๒๙ ในวันจันทร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
๓. Invitation to CSW64,NEW York City ภายใต้แนวคิด Beijing+25 (2020) realization of gender equality and the empowerment of all women and girls, everywhere ระหว่างวันที่ ๙ – ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓
๔. Invitation to the 18 women’Sports Festival in Macau ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๓ มีนาคม ๒๕๖๓
๕. Invitation to the 19 ACWO Board of Directors (๒๐๑๘ – ๒๐๒๐) in Singapore ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๓
๖. Invitation to the Executive Committee Meeting oF ICW in Avignon, France ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓

ดร.ลาลีวรรณ กาญจนจารี กล่าวว่าสำหรับการประชุมในวันนี้ เป็นการเตรียมพร้อมการดำเนินงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากท่านประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ โดยในการประชุมเปิดโอกาสให้คณะกรรมการฝ่ายต่างประเทศ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ
ทั้งนี้ได้มอบหมายงานให้คณะกรรมการฝ่ายต่างประเทศ เดินทางไปเข้าร่วมประชุม ณ ประเทศต่างๆ ตามที่ท่านประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ มอบหมายงานให้ฝ่ายต่างประเทศพิจารณาดำเนินการ รวมทั้งการเข้าร่วมงานฉลองวันชาติคูเวตปี ๒๙ ด้วย ทั้งนี้ผลการประชุมฝ่ายต่างประเทศจะรวบรวมสรุปรายงาน ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ เพื่อรับทราบต่อไป


ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๖๒. สตรีจันทบุรี ผนึกกำลัง ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน สภาสตรีฯ สืบสาน รณรงค์ใส่ผ้าไทย สร้างเศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง

วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น นายโชคชัย แก้วป่อง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงขับเคลื่อนรณรงค์การใส่ผ้าไทย กับ นายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี โดย มอบหมาย นางสุจิตรา ศรีนาม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดจันทบุรี ร่วมลงนาม พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรสตรี กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ณ โรงแรมนิวแทรเวลลอด์จ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ร่วมลงนาม จำนวน 11 หน่วยงาน

นายโชคชัย แก้วป่อง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" วัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ผ้าไทย อันเป็นศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย และให้ชาวโลกได้ชื่นชม อีกทั้ง เพื่อเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่นให้เกิดกระแสความนิยมการแต่งกายผ้าไทยแก่ประชาชนทั่วประเทศ และยังสนับสนุน ส่งเสริม การสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรีในท้องถิ่น การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กรมการพัฒนาชุมชน และจังหวัดจันทบุรี รวมถึงการส่งเสริมเผยแพร่ผ้าไทย อีกทั้งเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้กับแก่กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีต่อไป

นายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า จังหวัดจันทบุรี นั้น เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ อาชีพส่วนใหญ่ทำสวนผลไม้ จึงมีความโดดเด่นเรื่องผลไม้นานาชนิด จนได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งผลไม้ และมีความโดดเด่นเรื่องอัญมณี ที่มีภูมิปัญญาในการเจียระไนพลอยของชาวจันทบุรี จนได้ชื่อว่าเป็นนครแห่งอัญมณี อีกทั้งจังหวัดจันทบุรี ได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งความสุข ตามสโลแกนที่ว่า “สุขทุกวันที่จันทบุรี” ในการดำเนินงานโครงการสตรีจันทบุรีร่วมสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน โดยคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดจันทบุรี และหน่วยงานสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรี ร่วมกันดำเนินการในครั้งนี้ นับได้ว่าเป็นการสนองแนวนโยบายของกรมการพัฒนาชุมชน ได้อย่างชัดเจน และได้รับความกรุณาจากท่านรองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ทำให้การจัดงานในครั้งนี้มีความสำคัญและโดดเด่นยิ่งขึ้น

นางสุจิตรา ศรีนาม นายกเหล่ากาชาดจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า จังหวัดจันทบุรี ได้ขับเคลื่อนโดยจัดการรณรงค์แต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าชาติพันธุ์ ตามโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน” ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาอย่างจริงจัง ทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกิดกระแสความนิยมและแนวทางการปฏิบัติของข้าราชการในจังหวัดจันทบุรี ที่ต้องแต่งกายด้วยผ้าไทยทุกวันยกเว้นวันที่แต่งชุดข้าราชการ เพื่อร่วมกันเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่น ทั้งยังเป็นการสร้างยังเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย ขอขอบคุณสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกรมการพัฒนาชุมชน ที่เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ผ้าไทย ที่มาจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน และสร้างอัตลักษณ์ ความเป็นไทยด้วยการแต่งกาย ให้ทุกคนมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยมากยิ่งขึ้น การรณรงค์ให้คนไทยทั้งประเทศ ร่วมมือร่วมใจกัน ใส่ผ้าไทย ไม่ว่าจะเป็น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าพื้นเมือง เพื่อช่วยกันเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำ และกระจายรายได้ให้แก่ชุมชน รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทย หากเราไม่ร่วมกันรณรงค์ในความเป็นไทย คนไทยจะมีที่ยืนในผืนแผ่นดินนี้ได้อย่างไรกัน

สุดท้ายนายสมบูรณ์ หอมเอนก. พัฒนาการจังหวัดจันทบุรี ได้กล่าวว่า ในการร่วมมือกันด้วย โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” แม้จังหวัดจันทบุรี จะไม่มีผ้าอัตลักษณ์ที่โดดเด่น แต่จะช่วยกันสนับสนุน รณรงค์ให้ประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่ ข้าราชการ และพนักงานบริษัท ได้สวมใส่ผ้าไทย ในทุก ๆ วัน เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพทอผ้าแก่สตรีทั่วทุกภูมิภาค โดยเฉพาะองค์กรสตรีของจังหวัดจันบุรี ได้ร่วมส่งเสริมเผยแพร่ผ้าไทย อีกทั้งเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน จากการสวมใส่ผ้าไทย ทำให้ครอบครัวอบอุ่น สร้างชุมชนเข้มแข็ง และพึ่งตนเองได้ อย่างยั่งยืน

ภาพ/ข่าว สำนักงานพัฒนาการจังหวัดจันทบุรี
เรียบเรียงข่าว: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๖๑. สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับสตรีชาวอุดรธานี รวม 7 หมื่นคน รำบวงสรวง พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ในโอกาสวันก่อตั้งเมืองอุดรธานี ๑๒๗ ปี

วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๗.๐๐ น. นางกอบแก้ว คงน้อย รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติ จังหวัดอุดรธานี พญ.เฉลิมวรรณ ศศิประภา นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการและสมาชิกร่วมในพิธี
ที่อนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เทศบาลนครอุดรธานี จัดให้มีการประกอบพิธีฉลองการก่อตั้งเมืองอุดรธานี เข้าสู่ปีที่ ๑๒๗ เพื่อน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณ และพระเกียรติคุณ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลงประจักษ์ศิลปาคม โดยต้นราชสกุล “ทองใหญ่” ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี
นางกอบแก้ว คงน้อย รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติ จังหวัดอุดรธานี พญ.เฉลิมวรรณ ศศิประภา นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการและสมาชิก โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีเป็นประธานในพิธี และมีทายาทตระกูลทองใหญ่เชื้อสายของกรมหลวงประจักษ์ฯมาร่วมในพิธี ประชาชนชาวจังหวัดอุดรธานีก็มารำบวงสรวงเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว


ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๖๐.ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ มอบรางวัลการประกวดเรียงความ “รักษ์ภาษาไทยให้ยืนยง”

วันอังคารที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐น.ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสมาคมสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวดเรียงความ “รักษ์ภาษาไทยให้ยืนยง”โดยมีนางกรแก้ว วิริยะวัฒนาประธานฝ่ายวิชาการ สภาสตรีแห่งชาติฯกล่าวสรุปรายงานความเป็นมาของโครงการประกวดเรียงความ “รักษ์ภาษาไทยให้ยืนยง” และมี ดร.ลาลีวรรณ กาญจนจารี รองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯนางสาวเบญจมาศ รุจิรวงศ์ นายกสมาคมสตรีไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางวราภรณ์ ทัตวิมล นายก สวญ.กรุงเทพฯ พร้อมด้วยกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ และสมาชิก เข้าร่วมในพิธี ณ ที่ทำการสภาสมาคมสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ อาคารพระกรุณานิวาสน์ กรุงเทพฯ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ