๓๓๙. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับจังหวัดอำนาจเจริญ รณรงค์ อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สวมใส่ผ้าทอพื้นเมือง ตามโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” รณรงค์จังหวัดอำนาจเจริญ
วันนี้ (๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๒ ) เวลา ๑๓.๐๐ น. นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานในพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือ ตามโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการบูรณาการความร่วมมือส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาจากท้องถิ่น การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยผ่านการสวมใส่ผ้าทอพื้นเมือง ซึ่งมีนายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นผู้กล่าวรายงาน และมีผู้แทนนายกเหล่ากาชาดจังหวัดอำนาจเจริญ ประธานคณะกรรมการสันนิบาตเทศบาลจังหวัดอำนาจเจริญ ผู้แทนสภาสตรีแห่งชาติฯ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด นายอำเภอ ภาคเอกชน ผู้นำองค์กรสตรี และสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอำนาจเจริญ เข้าร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียงกัน ณ โรงแรมฝ้ายขิดอำนาจ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
ขอบคุณที่มา ภาพ/ข่าว : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
เรียบเรียง/เผยแพร่ข่าว: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๓๘. อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนจับมือประธานสภาสตรี รณรงค์สตรีแพร่ ใส่ผ้าไทย ช่วยสร้างเศรษฐกิจไทยให้มั่นคง ตามโครงการ”สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน “
วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสักทอง ๑-๓ โรงแรมแม่ยมพาเลส อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ พร้อมด้วย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และ นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ขับเคลื่อนโครงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน กับจังหวัดแพร่ นำโดย นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยก่อนลงนามได้มีการแสดงโชว์อัตลักษณ์ผ้าไทยของจังหวัดแพร่ ด้วยการเดินแฟชั่นโชว์ผ้าไทย ผ้าไทยประยุกต์ จากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับสากลที่ออกแบบและผลิตโดยคนแพร่ จำนวน ๑๔ แบรนด์ อาทิ อัญชิ กฤษณะ เลอโซเลย์ เป็นต้น ทำให้เห็นถึงความสวยงาม น่าสวมใส่ และใส่ได้ทุกวัน ทุกโอกาส
การลงนามบันทึกข้อตกลงความความร่วมมือ ตามโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน จังหวัดแพร่” ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยอันมีอัตลักษณ์และทรงคุณค่า ศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงอยู่ปรากฏเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย และให้ทั่วโลกได้ชื่นชม อีกทั้งช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เกิดกระแสความนิยมการแต่งกายด้วยผ้าไทย โดยเน้นในกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างหน่วยงานของรัฐให้ใช้ผ้าไทยอย่างต่อเนื่อง นำมาซึ่งทุกคนได้มีส่วนร่วมสืบสาน อนุรักษ์ผ้าท้องถิ่นไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดิน และที่สำคัญเพื่อเป็นสนับสนุน ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมสร้างรายได้ให้กลุ่มสตรีในท้องถิ่น
ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ กล่าวว่า ภารกิจของสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์กิจกรรมหลักจะเป็นเรื่องของสตรี มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพอาชีพสืบสานโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวงเมื่อได้ทำโครงการอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน ทำให้เข้าใจถึงกรรมวิธีการผลิตการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นงานทรงคุณค่าและเป็นงานภูมิปัญญาที่สืบทอดสู่รุ่นหลานดังนั้นหาก ๓๕ ล้านคน หันมาใส่ผ้าไทยก็จะสร้างรายได้กลับสู่ชุมชนเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากสู่ความมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืน สืบสานภูมิปัญญาในวันนี้จังหวัดแพร่ได้จัดงาน ๑๑๙๑ ปี คือสิ่งที่สืบทอดจากบรรพบุรุษที่ต้องรักษาไว้อย่างยิ่ง
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวต่อว่าด้วยสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ได้คำนึงถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวงทรงรื้อฟื้นผ้าไทยมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๔ ทรงให้ชาวบ้านทอผ้าเพื่อไปตัดชุดฉลองพระองค์และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าผ้าและส่งเสริมพัฒนาฝีมือและจัดประกวดการทอผ้าทำให้พวกเราได้ทราบถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านให้ตระหนักถึงความเป็นตัวตนของคนไทยผ่านการทอผ้าดังเช่น การส่วนใส่ผ้าหม้อห้อมของคนแพร่ ที่เป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจนดังนั้นเราต้องร่วมมือกันในการเชิญชวนภาคีเครือข่ายในจังหวัดร่วมถึงส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนในการร่วมกันสวมใส่ผ้าไทย หากคนไทย ๓๕ ล้านคนใส่ผ้าไทยเพิ่มขึ้นคนละ ๑๐ เมตร เมตรละ ๓๐๐ บาท จะสร้างรายได้ ๑๐๕,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งรายได้ดังกล่าวนั้นจะกระจายถึงคนในชุมชนและอีกหลายชีวิต จะทำให้เศรษฐกิจของชาติเกิดการหมุนเวียนเกิดความมั่นคงด้านเครื่องนุ่งห่มรวมทั้งแสดงถึงการมีวัฒนธรรมที่ดีงาม จังหวัดแพร่มีศิลปินแห่งชาติคนสำคัญได้แก่ แม่ประนอม ทาแปง ท่านมีส่วนช่วยทำให้งบประมาณของกรมการพัฒนาชุมชน ได้รับงบประมาณในการพัฒนางบโอทอป ในปี 2563 อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย จังหวัดแพร่มีผ้าหม้อห้อม อันเป็นสีเดียวกับกรมการพัฒนาชุมชน ผมคงต้องสั่งซื้อผ้าหม้อห้อมแล้วใส่ตรากรมการพัฒนาชุมชนให้เจ้าหน้าที่ใส่ทำงานสัก ๑ วัน โดยจะคัดเลือกร้านที่มีกำลังการผลิตและจะคัดเลือกแบบอีกครั้งนึง
นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวต้อนรับจังหวัดแพร่มีความยินดี ที่ได้รับเกียรติจากสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกรมการพัฒนาชุมชนที่ให้เกียรติมาเยี่ยมจังหวัดแพร่และจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ในวันนี้ จังหวัดแพร่มีทรัพยากรไม้สักทองที่สวยที่สุด มีวิถีชีวิตที่เป็นอัตลักษณ์และมีผ้าหม้อฮ้อมที่สืบทอดมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งขณะนี้ได้มีการพัฒนาให้กว้างไปสู่ความเป็นสากล ในโอกาสนี้ขอขอบคุณท่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนและประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ที่ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์ผ้าถิ่นไทย จนเกิดโครงการสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดินครั้งนี้
ขอบคุณที่มา ภาพ/ข่าว : กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
เผยแพร่ข่าว: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๓๗. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีจัดทำข้อตกลงความร่วมมือโครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" ร่วมกันเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่น
๒๓ ธันวามคม ๒๕๖๒ นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นประธานในการประชุมจัดพิธีทำข้อตกลงความร่วมมือโครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยมีนางธัญชนก หมั่นหมาย พัฒนาการอำเภอหนองจิกกล่าวรายงาน เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยการอนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าของชาติให้ดำรงคงอยู่ การเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่น และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้เกิดกระแสความนิยมการแต่งกายด้วยผ้าไทยแก่ประชาชน โดยสืบสานอนุรักษ์ผ้าท้องถิ่นไทยในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จากนั้นนายอำเภอหนองจิกจัดประชุมคณะทำงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับตำบล/เทศบาล ได้ร่วมวิเคราะห์โครงการ เพื่อนำกองทุนบทบาทสตรีมาช่วยเหลือ พัฒนาทักษะ องค์ความรู้แก่สตรีในพื้นที่ ด้วยการรับฟังการสะท้อนปัญหาจากกลุ่มสตรี ส่งเสริมให้มีการขับเคลื่อน "ครอบครัวคุณธรรม" ส่งเสริมความเข้มแข็ง รวมทั้งให้ข้อคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมให้มีการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับตำบล/เทศบาล ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๒ ที่ว่าการอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๓๖. สภาสตรีแห่งชาติฯร่วมกับโรงเรียนวัดเวฬุวนาราม หนุนเยาวชน “ออมไม่อด จดไม่จน” สร้างจิตสำนึกเรื่องการออม เพื่ออนาคตที่มั่นคง
ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มอบหมายให้นางกรแก้ว วิริยะวัฒนา ประธานฝ่ายวิชาการ สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ นำคณะกรรมการฝ่ายวิชาการสภาสตรีแห่งชาติฯ ดำเนินการ จัดโครงการ “ออมไม่อด จดไม่จน” โดยมี คณะวิทยากรจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ให้ความรู้ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรู้จักการจดบันทึกบัญชีรับ-จ่ายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจน ขณะเดียวกันก็เป็นการปูพื้นฐานให้กับเยาวชนนักเรียน มีนิสัยรักการออมโดยผ่านการจดบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่าย รู้จักการคิดคำนวณ รู้คุณค่าของเงิน และมีวินัยทางการเงินโดยผู้เข้าอบรมเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม นอกจากนี้ยังมี สมาชิกของสภาสตรีแห่งชาติฯ สนใจลงชื่อเข้าร่วมรับฟัง รวมจำนวนทั้งหมด ๑๙๕ คน เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
นางกรแก้ว วิริยะวัฒนา ประธานฝ่ายวิชาการ สภาสตรีแห่งชาติ กล่าวว่า ท่านประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ ได้อนุมัติให้ฝ่ายวิชาการ จัดทำโครงการ “ออมไม่อด จดไม่จน” ร่วมกับคณะวิทยากรจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นเยาชน และกลุ่มเป้าหมายรองเป็นองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯและประชาชนทั่วไป เนื่องจากการรู้จักเก็บหอมรอบริบเป็นก้าวสำคัญ ในการจุดประกายกระตุ้นให้เยาวชนรู้จักอดออม อีกทั้งมีหลักเกณฑ์การคิด ทำให้สามารถคำนวณ ตัวเลขการมีเงินสะสมในอนาคต เพื่อเป็นเครื่องมือนำทางให้ผู้ทำบัญชี รู้จักคิด รู้จักจ่าย รู้จักออม และเกิดแรงจูงใจที่จะปรับเปลี่ยนตนเองสู่ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
โอกาสนี้ประธานฝ่ายวิชาการ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในนามฝ่ายวิชาการขอขอบพระคุณ ท่านที่ปรึกษาประธานสภาสตรีแห่งชาติฯทุกท่าน ท่านประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ ท่านประธานคณะกรรมการบริหาร ท่านรองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการบริหาร ท่านนายกองค์กร และสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ทุกท่าน ที่ให้เกียรติเข้าร่วมกิจกรรม หรือมาเยี่ยมเยียน ในระหว่างการจัดกิจกรรม เพื่อเป็นกำลังใจ ให้คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ มีความมุ่งมั่น จัดทำโครงการที่จะเป็นประโยชน์ต่อเยาวชน ต่อสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯและประเทศชาติโดยรวม ทั้งนี้ฝ่ายวิชาการ ยินดีเปิดรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน เพื่อรวบรวมนำเสนอโครงการดีดี เข้าที่ประชุมคณะกรรมการฝ่ายวิชาการฯและนำเรียนท่านประธานสภาสตรีแห่งชาติในการขออนุมัติจัดทำโครงการต่างๆ ในปี ๒๕๖๓ ต่อไป
ข่าว: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๓๕. สภาสตรีแห่งชาติฯ จับมือ จังหวัดกาฬสินธุ์ ลงนามบันทึกข้อตกลง โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” รณรงค์ร่วมกัน เชิดชูอัตลักษณ์ ผ้าพื้นถิ่นของ ๑๘ อำเภอ
วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๒๒ นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยนางนงค์นิตย์ เนียมศิริ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์ และองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ อาทิ ดร.อัจฉรา พรสีมา นายกสมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดนกาฬสินธุ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย จังหวัดกาฬสินธุ์ (สธวท กาฬสินธุ์) ร่วมลงนาม บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือ (MOU) โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” โดยมีนายนรินทร์ เกล้าจะโป๊ะ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวรายงาน และมีการนำเสนอผ้าพื้นถิ่นของทั้ง ๑๘ อำเภอ สร้างความตื่นตาตื่นใจบนเวที ด้วยความงดงาม โดดเด่นบ่งบอกถึงภูมิปัญญาที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ณ พระธาตุยาคู อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธ์ุ
โครงการนี้วัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงอนุรักษ์ ส่งเสริม และเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าไทย ทำให้ผ้าไทย คงอยู่คู่แผ่นดิน และเพิ่มรายได้ให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน ในประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย
ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๓๔. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานเชิญผู้แทนสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมประชุมคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๓
นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมัยที่ ๒๖มอบหมายให้ นางอรุณศรี จงเจียมจิตต์ กรรมการอำนวยการและคณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ และนางเยาว์มาลย์ วัชระเรืองศรี คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ โดยมีนายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานเปิดการประชุมการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยมีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนภาครัฐ องค์กรนายจ้าง องค์การลูกจ้าง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสตรี อาทิ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีผู้อำนวยการกลุ่มงานแรงงานหญิง เด็ก และเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น ๕ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สืบเนื่องจาก กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กำหนดจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ภายใต้แนวคิด “แรงงานสตรี ร่วมแรงร่วมใจ สร้างความเสมอภาค สู่สังคมไทย” และได้ทูลเชิญพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จมาประทานโล่รางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ในวันศุกร์ที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องมิราเคิล แกรนด์บอลรูม ชั้น ๔ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
การประชุม มีประเด็นที่ฝ่ายเลขานุการ ขอให้คณะกรรมการได้พิจารณา จำนวน ๒ เรื่อง ประกอบด้วย การพิจารณาประเภทและจำนวนรางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ และการพิจารณาเรื่องคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่จะใช้คัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยขอให้คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาตามลำดับ ดังนี้
๑. ประเภทและจำนวนรางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้กำหนดประเภทของสตรีทำงานดีเด่นไว้ ๘ ประเภท จำนวน ๒๙ รางวัล ประกอบด้วย (เอกสารหมายเลข ๓)
- สตรีนักบริหารดีเด่น จำนวน ๘ รางวัล
- สตรีผู้ปฏิบัติการดีเด่น จำนวน ๘ รางวัล
- สตรีเครือข่ายด้านแรงงานดีเด่น จำนวน ๕ รางวัล
- สตรีผู้ประกอบอาชีพอิสระดีเด่น จำนวน ๔ รางวัล
- ศิลปินสตรีดีเด่น จำนวน ๑ รางวัล
- สื่อมวลชนสตรีดีเด่น จำนวน ๑ รางวัล
- สตรีองค์กรพัฒนาเอกชนดีเด่น จำนวน ๑ รางวัล
- สตรีนักวิชาการด้านแรงงานดีเด่น จำนวน ๑ รางวัล
ทั้งนี้ สาขาสตรีทำงานดีเด่นที่ไม่มีผู้เสนอชื่อในปีที่แล้วประกอบด้วย
สตรีผู้ประกอบอาชีพอิสระดีเด่น (ภาคกลางและภาคใต้) และสตรีองค์กรพัฒนาเอกชนดีเด่น รวมทั้งหมด ๓ รางวัล จึงทำให้ผู้ได้รับรางวัลสตรีทำงานดีเด่นในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ มีจำนวน ๒๖ รางวัล
สำหรับการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ฝ่ายเลขานุการพิจารณาแล้วเห็นว่าประเภทรางวัล จำนวน ๘ ประเภท มีการกำหนดมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และสามารถนำมากำหนดประเภทรางวัลในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ได้ สำหรับจำนวนรางวัลนั้น แม้ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ จะไม่มีผู้เสนอชื่อจำนวน ๓ รางวัล แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๑ มีผู้เสนอชื่อและได้รับรางวัลดังกล่าว โดยฝ่ายเลขานุการจึงขอให้คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาว่าประเภทและจำนวนรางวัลสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ มีความเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ดังนี้
๑. กำหนดหลักเกณฑ์และสรรหาคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
๒. พิจารณาสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่นประเภทต่างๆ เข้ารับประทานโล่ รางวัลและใบประกาศเกียรติคุณในวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
๓. รายงานผลการดำเนินการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่นประเภทต่างๆ ต่อคณะกรรมการจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
๔. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ปลัดกระทรวงแรงงานมอบหมาย การประชุมในวันนี้เป็นการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เพื่อพิจารณาประเภท จำนวนรางวัล คุณสมบัติ/หลักเกณฑ์การคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓
สำหรับการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมการฯ ได้กำหนดคุณสมบัติ/หลักเกณฑ์การคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น จำนวน ๓ ประเด็น ประกอบด้วย
๑) คุณสมบัติ โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการคัดเลือกเป็น
รายประเภท สาขาของสตรีทำงานดีเด่น ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติครบทุกข้อที่กำหนด
๒) รายละเอียดหลักเกณฑ์ของแต่ละสาขาที่จะใช้ในการพิจารณา
คัดเลือก ซึ่งจะนำไปกำหนดเป็นน้ำหนักคะแนนในการคัดเลือก
๓) หน่วยงานที่จะเสนอชื่อสตรีทำงานดีเด่นเข้ารับการคัดเลือกโดย
กำหนดหน่วยงานไว้เป็นการเฉพาะของแต่ละประเภทรางวัลที่สามารถเสนอชื่อสตรีทำงานดีเด่น
ทั้งนี้ การคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่นทั้งหมดคณะกรรมการได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคัดกรองเบื้องต้น โดยพิจารณาให้คะแนนตามหลักเกณฑ์ก่อนและนำคะแนนของผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดไล่ตามลำดับเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาตามจำนวนที่กำหนดไว้ในอัตรา ๓ คน ต่อจำนวน ๑ รางวัล สำหรับการสรรหาและคัดเลือกสตรีทำงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ฝ่ายเลขานุการขอนำเสนอให้ใช้การกำหนดคุณสมบัติ/หลักเกณฑ์ และวิธีดำเนินการตามปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ขอให้คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาว่ามีความเหมาะสม หรือไม่ เพียงใด หรือควรมีการปรับปรุงเป็นอย่างไร
ภาพ/ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๓๓. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัดปทุมธานี ลงนาม รณรงค์ ๒๑ หน่วยงานเชิดชูอัตลักษณ์“ผ้าใยกล้วยบัวหลวง” และ “ผ้ามณีเจ้าพระยาปทุมธานี” ปลุกกระแสการแต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่น สวยงามปฏิบัติงานทุกวัน
ที่ห้องประชุมราชสีห์บัวหลวง ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี นายชาธิป รุจนเสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง ว่าด้วย การประสานความร่วมมือ โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” โดยมีนายสิทธิชัย สวัสดิ์แสน ปลัดจังหวัดปทุมธานี นายพงษ์เทพ รุ่งเรือง พัฒนาการจังหวัดปทุมธานี หัวหน้าส่วนราชการและภาคีการพัฒนาจังหวัดหลายภาคส่วน จำนวน 21 หน่วยงาน เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงการบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือโครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน”จังหวัดปทุมธานี เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยการอนุรักษ์ ส่งเสริม สนับสนุนและเผยแพร่ ผ้าไทย ศิลปะอันล้ำค่าของชาติ ให้ดำรงคงอยู่ ปรากฏเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยและเป็นความชื่นชมของชาวโลก และเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าท้องถิ่นของจังหวัดปทุมธานี คือ“ผ้าใยกล้วยบัวหลวง” และ “ผ้ามณีเจ้าพระยาปทุมธานี” ให้เกิดกระแสความนิยม การแต่งกายผ้าไทย แก่ประชาชนทั่วจังหวัดปทุมธานี โดยเน้นในกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้างของหน่วยงาน ของรัฐ เอกชน องค์กรภาคีเครือข่าย ให้ใช้ผ้าไทยอย่างต่อเนื่องและเพื่อสนับสนุน ส่งเสริม ให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้จำหน่ายผ้าไทย มีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เศรษฐกิจฐานรากดีขึ้นและรณรงค์ให้คนไทยทุกเพศ ทุกวัย แต่งกายผ้าไทยให้มากขึ้น
ปัจจุบันรัฐบาลได้รณรงค์ให้แต่งกายผ้าไทยทุกวันอังคาร โดยจังหวัดปทุมธานีได้รณรงค์ให้แต่งกายผ้าไทยทุกวันพฤหัสบดี เพื่อให้ประชาชนอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยผ่านการแต่งกายผ้าไทยและสร้างเสริมรายได้ให้ผู้ประกอบอาชีพทอผ้า ทั้งในจังหวัดและทั่วประเทศ
ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชนเรียบเรียงข้อมูล:
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๓๒. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัดบึงกาฬ และพัฒนาการจังหวัดจำนวน ๑๑ หน่วยงาน ปลุกกระแสการแต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่น สวยงามปฏิบัติงานทุกวัน
๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๑. ๐๐ น. นายจิรศักดิ์ สีหามาตย์ พัฒนาการจังหวัดบึงกาฬ มอบหมายให้นายพงษ์ศักดิ์ เหมธุลิน หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน ดำเนินโครงการ"สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" โดยจัดทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ระหว่างหน่วยงานราชการ กลุ่ม องค์กร และภาคเอกชน ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบึงกาฬ ที่ทำการปกครองจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบึงกาฬ คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดบึงกาฬ คณะกรรมการเครือข่ายOTOP จังหวัดบึงกาฬ หอการค้าจังหวัดบึงกาฬ
โครงการ"สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงอนุรักษ์ส่งเสริมและเชิดชูอัตลักษณ์คุณค่าผ้าไทย ทำให้ผ้าไทยคงอยู่คู่แผ่นดิน และเพิ่มรายได้ให้ผู้ผลิตผู้ประกอบOTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย
ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๓๑. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับ จังหวัด และพัฒนาการจังหวัดปัตตตานี ปลุกกระแสการแต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่น สวยงามปฏิบัติงานทุกวัน
วันนี้ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๒ นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี มอบหมายให้ นายสมนึก พรหมเขียว รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานฯ ร่วมลงนามข้อตกลงสร้างความร่วมมือ (MOU) กับ ส่วนราชการ ภาคเอกชน กลุ่ม/องค์กร ร่วมด้วย หัวหน้ากลุ่มงานฯ/ฝ่ายฯ /พัฒนาการอำเภอ ทุกอำเภอ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนฯ ร่วมกิจกรรม โดยมีการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ผ้าทอ ผ้าไทย ผ้าพิมพ์ลายอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดย นายวัชระ ธรรมปัญญาสกุล หน.กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดปัตตานี จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และส่วนราชการ เอกชน กลุ่ม/องค์กร ร่วมแต่งกายด้วยผ้าไทย ผ้าพื้นถิ่นในการปฏิบัติงานทุกวัน ยกเว้นในวันที่มีการแต่งกายด้วยเครื่องแบบข้าราชการ หรือเครื่องแบบของหน่วยงานนั้น ณ ห้องประชุม ชั้น ๓ อาคารห้องสมุด TK Park เทศบาลเมืองปัตตานี อำเภอเมืองฯ จังหวัดปัตตานี
/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

๓๓๐. สภาสตรีแห่งชาติฯ จับมือจังหวัดอ่างทอง และพัฒนาการจังหวัด ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือ (MOU) ๘ องค์กร ตามโครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน"
วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายทินกร บุญเงิน พัฒนาการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าการประสานความร่วมมือ (MOU) โครงการ "สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน" ร่วมกับ ๘ องค์กร ได้แก่ เครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดอ่างทอง คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดอ่างทอง เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดอ่างทอง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีอ่างทอง(วิสาหกิจเพื่อสังคม)จำกัด ชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน บริษัท อ่างทอง โอทอป อินเตอร์เทรดเดอร์ จำกัด เครือข่าย OTOP จังหวัดอ่างทอง ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอ่างทอง เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผ้าไทยศิลปะอันล้ำค่าให้ดำรงคงอยู่ในแผ่นดิน อีกทั้งเป็นการสนับสนุน ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพ และเสริมรายได้ ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการในท้องถิ่นอีกด้วย
ภาพ/ข่าว: กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข้อมูล: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ สมัยที่ ๒๖

