๙๒๙. "เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ทรงถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการพัฒนาผ้าไทยจากสีย้อมธรรมชาติเพื่อความยั่งยืน ในงานเสวนาวิชาการ "การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล" ที่จังหวัดมหาสารคาม
วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๕ ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานงานเสวนาวิชาการ “หนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทยเล่มที่ ๒ (Thai Textiles Trendbook Autumn/Winter 2022-2023)” โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์และนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร จันทมฤก ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นางพรศรี ตรงศิริ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดมหาสารคาม รองศาสตราจารย์ ดร.ประกาศ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ข้าราชการ นิสิต กลุ่มทอผ้า และประชาชน เฝ้ารับเสด็จ
โอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงบรรยายในหัวข้อ “การส่งเสริมการพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล” โดยมี นายกุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสารโว้ก ประเทศไทย (VOGUE THAILAND) และนายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข ดีไซเนอร์ชื่อดังเจ้าของแบรนด์wishrawish ผู้สนองงานผ้าไทยใส่ให้สนุกร่วมบรรยาย
จากนั้น เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการและการแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตกรรมชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามโครงการยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด พระบรมราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในด้านการรักษาสมบัติทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะศิลปหัตถกรรมทอผ้าในแต่ละท้องถิ่น อนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่ยั่งยืนตลอดไป
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีพระดำรัสในงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ “การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล” เกี่ยวกับเทรนด์บุ๊กเล่มที่ ๒ “Thai Textiles Trend Book Autunm/Winter 2022-2023” ที่นำเสนอกลุ่มโทนสีใน 6 ทิศทางหลัก ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการผลิตและพัฒนาผ้าไทยในตลาดยุคปัจจุบัน มีใจความสำคัญโดยสรุปว่า เล่มแรกได้แนะนำเรื่องลวดลายผ้าเป็นหลัก สำหรับเล่มที่ ๒ คอลเล็กชั่น Autumn / Winter 2022-2023 หรือเสื้อผ้าสำหรับฤดูหนาวนี้ เน้นนำเสนอเกี่ยวกับโทนสีและใช้วัสดุย้อมสีจากธรรมชาติ ลดการใช้สีเคมีดีต่อคนและสิ่งแวดล้อม ด้วยวัสดุย้อมสีที่มีในท้องถิ่น โดยเฉพาะคราม ซึ่งเป็นสีย้อมเย็นที่ทั่วโลกใช้อย่างแพร่หลาย เมื่อนำไปผสมผสานกับวัสดุย้อมธรรมชาติต่างๆ เช่น ครั่ง เข ดาวเรือง ประดู่ เปลือกมะพร้าว แก่นขนุน จะได้เฉดสีที่หลากหลาย จำแนกเป็นกลุ่มโทนสี ๖ ทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นม่วงแดง น้ำเงินเข้ม เขียว น้ำตาล เหลือง และเทา แล้วกำหนดเป็นสูตรเบอร์สีที่ตรงกับสากล ใช้ทดแทนสีเคมีได้ ซึ่งรวบรวมไว้อย่างพร้อมสรรพในเล่มนี้
นอกจากนี้ ภายในเล่มยังแนะนำ 6 เทคนิคพื้นฐานการผลิตผ้าไทย ได้แก่ ยกดอก ขิด จก ปัก มัดหมี่ ด้น เกาะหรือล้วง และแพตช์เวิร์ก ซึ่งปีนี้เน้น 2 เทคนิคสำคัญคือ แพตช์เวิร์กและการด้น เหมาะกับการผลิตเสื้อผ้าคอลเล็กชั่นฤดูหนาว อย่างแพตช์เวิร์กหรือการนำชิ้นผ้าหลากสีมาเย็บต่อเข้าด้วยกันจะพบในภาคเหนือ โดยเฉพาะชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่นิยมทำกันมาก ส่วนการด้นมือพบได้หลายภูมิภาค นำมาใช้ผลิตผ้าห่มบุนวมหรือชุดกีฬา เป็นต้น อุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่นก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน เทรนด์บุ๊กเล่มนี้จะสอนเรื่องการลดใช้ทรัพยากร หรือใช้แล้วต้องปลูกทดแทน ใช้วัสดุที่คุ้นเคยอย่างคุ้มค่าที่สุด ภูมิปัญญาไทยเรื่องการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติจากวัสดุที่มาจากธรรมชาติช่วยแก้ปัญหาได้ แต่ต้องทำอย่างจริงจัง หวังว่าจะเป็นหนังสือที่อ่านแล้วเพลิดเพลินและเป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมสิ่งทอ แฟชั่น และดีไซน์ ก่อนจะมีเทรนด์บุ๊กเล่ม ต่อๆ ไป
ทั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา มีรับสั่งเป็นนิจว่า อยากให้จัดงานยังภูมิภาคเริ่มจาก จ.มหาสารคาม พร้อมกับทรงเน้นย้ำว่าคำศัพท์แฟชั่นต้องพูดบ่อยๆ เพื่อให้นักศึกษาที่ทำงานด้านนี้หรือผู้ประกอบการเข้าใจ ซึมซับ และคุ้นเคยให้มากที่สุด ทั้งหมดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเทรนด์บุ๊กเล่มนี้
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมผ้าทอในแต่ละท้องถิ่น พร้อมพัฒนาต่อยอดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น ด้วยองค์ความรู้ใหม่ซึ่งบรรจุอยู่ใน หนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย หรือ "Thai Textiles Trend Book Spring / Summer 2022 เล่มแรก" ที่ทรงมีพระราชดำริให้จัดทำขึ้น และทรงรับหน้าที่เป็นบรรณาธิการบริหาร ทรงค้นคว้าองค์ความรู้ และควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนด้วยพระองค์เอง
หนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยฯ เล่มแรก ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ต่อเนื่องมาถึงเล่มที่ 2 ได้แก่ Thai Textiles Trend Book Autumn/Winter 2022-2023
เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงมีพระราชดำรัสในงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ “การส่งเสริมและพัฒนาภาพลักษณ์ผ้าไทยสู่สากล” เกี่ยวกับเทรนด์บุ๊กเล่มที่ ๒ ที่นำเสนอ กลุ่มโทนสีใน ๖ ทิศทางหลัก ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการผลิตและพัฒนาผ้าไทยในตลาดยุคปัจจุบัน มีใจความสำคัญโดยสรุปว่า
เทรนด์บุ๊กเล่มแรกประสบความสำเร็จมาก ในแง่ของผลตอบรับ อุตสาหกรรมสิ่งทอเกิดควากระปรี้กระเปร่าในการผลิต เกิดกระแสและพลังงานที่ดีในการออกแบบ ถือเป็นการเริ่มต้นพัฒนา ทั้งเรื่องสีและองค์ความรู้ใหม่ๆ รู้สึกปลาบปลื้มที่มีหนังสือวิชาการด้านแฟชั่นอย่างจริงจัง ในการนำไปใช้ทำการเรียนการสอน หรือใช้ประกอบอาชีพ หนังสือเล่มนี้สีสวย ครบรส และจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป
“เล่มแรกได้แนะนำเรื่องลวดลายผ้าเป็นหลัก สำหรับเล่มที่ 2 คอลเลกชั่น Autumn / Winter 2022-2023 หรือเสื้อผ้าสำหรับฤดูหนาวนี้ เน้นนำเสนอเกี่ยวกับโทนสีและใช้วัสดุย้อมสีจากธรรมชาติ ลดการใช้สีเคมี ดีต่อคนและสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า 'Circular Colours' ซึ่งกำลังเป็นแทนด์โลก
พอเรานำมาใช้ จะเรียกว่า Circular Thai ด้วยวัสดุย้อมสีทีมีในท้องถิ่น โดยเฉพาะ คราม ซึ่งเป็นสีย้อมเย็น ที่ทั่วโลกมีการใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น อเมริกา อินเดีย เพียงแต่เฉดสีอาจแตกต่างกันไปตามสภาพอากาศหรือภูมิประเทศ
สำหรับบ้านเรา ครามถือเป็นราชาแห่งการย้อม (King of Dye) และเป็นหัวใจของสีย้อมเลยก็ว่าได้ เมื่อนำไปผสมผสานกับวัสดุย้อมธรรมชาติต่างๆ เช่น ผสมกับ ครั่ง, เข, ดาวเรือง, ประดู่, เปลือกมะพร้าว, แก่นขนุน ก็จะได้เฉดสีที่หลากหลาย จำแนกเป็นกลุ่มโทนสี 6 ทิศทาง ไม่ว่าจะเป็น ม่วงแดง น้ำเงินเข้ม เขียว น้ำตาล เหลือง และ เทา แล้วกำหนดเป็นสูตรเบอร์สีที่ตรงกับสากล ใช้ทดแทนสีเคมีได้ ซึ่งรวบรวมไว้อย่างพร้อมสรรพในเล่มนี้”
นอกจากนี้ ภายในเล่มยังแนะนำ ๖ เทคนิคพื้นฐานการผลิตผ้าไทย ได้แก่ ยกดอก ขิด จก ปัก มัดหมี่ ด้น เกาะหรือล้วง และ แพตช์เวิร์ค ซึ่งปีนี้ได้เน้น ๒ เทคนิคสำคัญคือ แพตช์เวิร์ค และ การด้น เหมาะกับการผลิตเสื้อผ้าคอลเลกชั่นฤดูหนาว
งานแพตช์เวิร์คหรือการนำชิ้นผ้าหลากสีมาเย็บต่อเข้าด้วยกัน จะพบในภาคเหนือ โดยเฉพาะชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่นิยมทำกันมาก ส่วนการด้นมือพบได้ในหลายภูมิภาค นำมาใช้ในการผลิตผ้าห่มบุนวมหรือชุดกีฬา เป็นต้น
“อุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน เทรนด์บุ๊กเล่มนี้จะสอนเรื่องการลดใช้ทรัพยากร หรือใช้แล้วต้องปลูกทดแทน ใช้วัสดุที่คุ้นเคยอย่างคุ้มค่าที่สุด เพื่อลดการเกิดของเสีย ซึ่งภูมิปัญญาไทยเรื่องการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติจากวัสดุที่มาจากธรรมชาติช่วยแก้ปัญหาได้ แต่ต้องทำอย่างจริงจัง หวังว่าจะเป็นหนังสือที่อ่านแล้วเพลิดเพลินและเป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมสิ่งทอ แฟชั่น และดีไซน์ ก่อนจะมีเทรนด์บุ๊กเล่มต่อๆ ไป”
"เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ทรงถ่ายทอดองค์ความรู้ผ้าไทยสู่สากลที่มหาสารคามเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทอดพระเนตรนิทรรศการฯ
ทั้งนี้ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงมีรับสั่งเป็นนิจว่า อยากให้มีการจัดงานยังภูมิภาคเริ่มจากจังหวัดมหาสารคาม พร้อมกับทรงเน้นย้ำว่าคำศัพท์แฟชั่นต้องพูดบ่อยๆ เพื่อให้นักศึกษาที่ทำงานด้านนี้หรือผู้ประกอบการได้เข้าใจ ซึมซับ และคุ้นเคยให้มากที่สุด และทั้งหมดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเทรนด์บุ๊กเล่มนี้
ปรับเปลี่ยนวิธีทำงาน มีการแยกเฉดสีสำหรับการย้อม หรืออย่างลายผ้าบางลายเมื่อมีการชี้แนะแนวทางให้ก็มีการดัดแปลงจากลายดั้งเดิมให้สอดคล้องกับตลาด มีความร่วมสมัยยิ่งขึ้น
สำหรับแบรนด์จุฑาทิพเราเน้นความร่วมสมัย วัยรุ่นใส่ได้ นอกจากนี้ยังคงแนวคิดตั้งแต่เริ่มก่อตั้งแบรนด์เรื่องการใช้สีธรรมชาติในการย้อมเป็นหลัก
ย้อนกลับไปเมื่อราว ๘ ปีก่อนมีไม่กี่รายที่เลือกสกัดสีจากธรรมชาติในการย้อมผ้า และเราก็เป็นหนึ่งตัวอย่างที่เลือกสีธรรมชาติ เพราะมองเห็นว่าดีต่อสุขภาพของคนย้อมผ้าและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการต้มหรือกำจัดทิ้ง ใบไม้หรือเปลือกไม้ที่นำมาย้อมก็นำไปเป็นปุ๋ยได้ด้วย และเท่าที่สังเกตผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติเมื่อนำไปวางขายมักได้ผลตอบรับค่อนข้างดี ลูกค้านิยมชมชอบ เป็นผลมาจากการดำเนินตามพระราชดำริของเจ้าฟ้าหญิงสิริวัณณวรีฯ ที่ทรงให้แนวทางเกี่ยวกับการจัดกลุ่มเฉดสี ทำให้เราสามารถพัฒนาได้ตรงกับความต้องการของตลาด
เรื่องสีย้อมธรรมชาตินี้นอกจากเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาแล้วยังเกิดจากการหัดสังเกต อย่างสีดำภูมิปัญญาดั้งเดิมได้จากมะเกลือ แต่ยุคนี้มีการทดลองพบว่าเปลือกมะพร้าวหรือใบยูคาลิปตัสก็ให้สีดำได้เช่นกัน เราพยายามปลุกเร้าชุมชนว่าวัตถุดิบมีอยู่รอบตัว เพียงนำมาทดลอง เมื่อได้ผลก็แทบไม่ต้องหาซื้อเลย ถ้ามองให้เป็นโอกาสก็จะมีทางเลือกมากขึ้น"
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดหนังสือแบบ e-book ได้ทาง เว็บไซต์กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และที่ link : Thai Textiles Trend book หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โทร.0 2247 0013 ต่อ 4305 และ 4319 - 4321 ในวันและเวลาราชการ
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๙๒๘.สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เป็นองค์ประธานในพิธีงานวันสตรีไทย ประจำปี ๒๕๖๑ พระราชทานโล่เชิดชูเกียรติสตรีไทยดีเด่น ๑๕๐ คน และเยาวสตรีไทยดีเด่น ๒๕ คน
วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ สมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เป็นองค์ประธานในพิธีงานวันสตรีไทย ประจำปี ๒๕๖๑ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ เป็นองค์ประธานในพิธีงานวันสตรีไทย ประจำปี ๒๕๖๑ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑ สิงหาคม ของทุกปี พระราชทานโล่เชิดชูเกียรติสตรีไทยดีเด่น ๑๕๐ คน และเยาวสตรีไทยดีเด่น ๒๕ คน โดยมี ผู้เข้าเฝ้ารับเสด็จฯ ประกอบด้วย องค์กรสมาชิกเครือข่ายสภาสตรีแห่งชาติฯ ๒๑๑ องค์กร สตรีและเยาวชนไทยทั่วประเทศ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ และ ผู้นำสตรี ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี จ.นนทบุรี
ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กราบบังคมทูลรายงานความเป็นมาของ “วันสตรีไทย” และทูลเกล้าฯ ถวายเทียนชนวน จากนั้นสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงรับและทรงจุดเทียนเปิดงาน “วันสตรีไทย” ประจำปี ๒๕๖๑

๙๒๗.สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมงานทูตอารยสถาปัตย์และนวัตกรรมสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล ประจำปี ๒๕๖๕
วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๓๐น. นางจันทรรัตน์ ไตรติลานันท์ นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการสมาคมและสมาชิกสมาคมร่วมงานทูต อารยสถาปัตย์และนวัตกรรมสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ ๕ โดยมี นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยกรรมการสมาคมและสมาชิกสมาคมจังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมงานทูตอารยสถาปัตย์และนวัตกรรมสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 5 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เสริมสร้างความเชื่อมั่นยุคนิวนอร์มัล ส่งเสริมอายสถาปัตย์ ขจัดความเหลื่อมล้ำในสังคม ขับเคลื่อนธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล พร้อมทั้งนี้ นางจันทรรัตน์ ไตรติลานันท์ นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา/นายกเหล่ากาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา รับมอบใบประกาศเกียรติคุณ "ทูตอารยสถาปัตย์ กิตติมศักดิ์ ประจำปี ๒๕๖๕ " ณ ฮอลล์ ๑๐๑ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค-บางนา กรุงเทพมหานคร
รายงานข่าว : สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชติ

๙๒๖.สมาคมแม่บ้านอาสาสมัครแห่งประเทศไทย องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ จัดกิจกรรม มอบถุงปันน้ำใจ ช่วยเหลือชาวชุมชนคลองเตย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่พี่น้องในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙)
วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ น. ๑๙ ที่โรงเรียนสายน้ำผึ้ง เขตคลองเตย นางปิยดา นราดุลย์ นายกสมาคมแม่บ้านอาสาสมัครแห่งประเทศไทย องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมแม่บ้านอาสาสมัครแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม มอบถุงปันน้ำใจ ประกอบด้วยข้าวสาร อาหารแห้ง และแอลกอฮอล์เจลให้กับประชาชน และนักเรียน ในเขต ชุมชนคลองเตย จำนวน ๕๐๐ ชุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่พี่น้องในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)
รายงานข่าว : สมาคมแม่บ้านอาสาสมัครแห่งประเทศไทยฯ
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชติ

๙๒๕.สมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทยบุรีรัมย์ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ รวมใจทำความดี ร่วมกับเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ มอบเครื่องอุปโภคบริโภคสิ่งพร้อม เงินรวม ๑๐,๐๐๐ บาท และซ่อมแซมบ้านให้ ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์
.วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ น นางอรพินไกรรณภูมิ นายกสมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทยจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วยกรรมการสมาคมและภาคีเครือข่าย เดินทางไปมอบเครื่องอุปโภคบริโภคสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นในการดำรงชีวิต รวมเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ให้กับนางสว่างบำรุงอาจอายุ ๗๕ ปี ซึ่งยากจนที่อยู่อาศัยชำรุดมาก โดยร่วมกับเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ช่วยซ่อมแซมบ้านให้พออยู่ได้และได้ ณ บ้านเลขที่ ๓ ถนนนครอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
รายงานข่าว : สมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทยบุรีรัมย์ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๙๒๔. สมาคมสตรีภูเก็ต องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ จัดกิจกรรมฐานการศึกษาเรียนรู้งานอาชีพ สร้างเสริมประสบการณ์ บ่มเพาะคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง และ มอบเงินสนับสนุนให้โรงเรียนไทยรัฐวิทยา๒๙ (กะทู้) จังหวัดภูเก็ต
วันอังคารที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ น.ที่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา๒๙ (กะทู้) จังหวัดภูดก็ต นางพรพินิจ พัฒนสุวรรณา นายกสมาคมสตรีภูเก็ต องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ พร้อมด้วยกรรมการและสมาชิกสมาคม จัดกิจกรรมทำฐานการเรียนรู้งานอาชีพสร้างเสริมประสบการณ์ บ่มเพาะคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ให้กับนักเรียนตามโครงการจัดการศึกษา และ มอบเงินสนับสนุนให้กับโรงเรียนไทยรัฐวิทยา๒๙ (กะทู้)
รายงานข่าว : สมาคมสตรีภูเก็ต องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๙๒๓.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และ ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ เข้าเฝ้าฯ ถวายรายงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตถกรรมชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ วังศุโขทัย
วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ยกระดับผ้าไทยอีสาน- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน เข้าเฝ้าฯ ถวายรายงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตถกรรมชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ วังศุโขทัย
สืบเนื่องจาก ได้เสด็จไปทอดพระเนตรผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ในงานสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา OTOP ณ หอประชุมจามจุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เมื่อวันที่ ๑๔ - ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
โดย กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติฯ นำกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อ ๔๒ ราย ใน ๒๐ จังหวัดทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ กลุ่มชุมชนภูไทดำ กลุ่มไหมสมเด็จ กลุ่มสตรีทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน จากจ.กาฬสินธุ์, กลุ่มทอผ้าไหมแต้มหมี่บ้านหัวฝาย กลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุขโข จากจ.ขอนแก่น, กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง จากจ.ชัยภูมิ, ฅญา บาติก ฉัตรทองไหมไทย จากจ.นครราชสีมา
รวมถึงผ้าย้อมครามธรรมชาติสินค้าขึ้นชื่อของ จ.สกลนคร ที่ปัจจุบันมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ยังมีเครื่องประดับเงิน และทอง จากจ.สุรินทร์, อุบลราชธานี และงานจักสาน จากจ.ยโสธร ร่วมจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในโครงการดังกล่าว
ทรงมีพระปฏิสันถารกับผู้ประกอบการ ที่เฝ้ารับเสด็จฯ และมีพระวินิจฉัยแนะแนวทางการพัฒนากรรมวิธี คุณภาพ ลวดลาย เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ด้วยทรงเล็งเห็นถึงการอนุรักษ์หัตถศิลป์อันล้ำค่า ที่สะท้อนถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ควบคู่ไปกับการยกระดับสู่สากล
เดิมในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ พระองค์ทรงมีกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรและกลุ่มสมาชิก OTOP ที่เคยพระราชทานคำแนะนำและแรงบันดาลใจ อันเป็นดั่งการบ้านที่ท้าทายฝีมือไว้ให้แก่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จึงเลื่อนการเสด็จพระราชดำเนิน
ด้วยพระเมตตา ทรงทอดพระเนตรเห็นถึงความตั้งใจจริงของทุกคน ทุกกลุ่ม ที่ได้ทำผลงานถวายผ่านกรมการพัฒนาชุมชน จึงโปรดให้นำผลงานที่ได้รับการพัฒนาตามพระวินิจฉัยมาให้ทรงตรวจ และให้คำแนะนำ ณ พระตำหนัก วังศุโขทัย
โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ และ ดร.วันดี ถวายรายงานผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตถกรรมชุมชน ที่พัฒนาโดยน้อมนำตามพระวินิจฉัยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จำนวน ๒๓ ชิ้นงาน จาก ๑๖ จังหวัด
อาทิ ผ้าไหมแพรวา กลุ่มชุมชนภูไทดำ จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งสมาชิกในกลุ่มได้รับสนองตามพระราชวินิจฉัย พัฒนาลวดลายเป็น “ลายช่อใหม่” และ “ลายเคอไต่ไม้” ต่อยอดจากแพรวาดั้งเดิม, ผ้าไหมบาติกเขียนมือ กลุ่มฅญาบาติก จ.นครราชสีมา ต่อยอดประยุกต์เป็นผ้าไหมบาติกเขียนมือ “ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” เกิดจากการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เยาวชนในชุมชนได้ฝึกทักษะ
ผ้าไหมพิมพ์ลายประยุกต์ ฉัตรทองไหมไทย จ.นครราชสีมา พัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยน้อมนำลายผ้าพระราชทาน “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ประยุกต์ลงบนผืนผ้าไหม ได้รับการยอมรับ ชื่นชมถึงความแปลกใหม่ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากเดิมหลายเท่า
ผ้าหมักโคลนย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มทอผ้าบ้านสะง้อ จ.บึงกาฬ รับสนองตามพระราชวินิจฉัยปรับปรุงใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านภาพลักษณ์ พัฒนาตราผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย ด้านการจัดร้านให้มีรูปแบบ เรื่องราวที่เข้ากับผลิตภัณฑ์ จัดแสดงวัตถุดิบที่ใช้ย้อมเพื่อให้ผู้บริโภครู้จักความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ และด้านผลิตภัณฑ์ มีการเพิ่มเส้นใยธรรมชาติ ปรับการเดินเส้นตัดเย็บให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ผ้าไหมมัดย้อมซ่อนมัดหมี่ กลุ่มผ้าครามเมืองพุท จ.บุรีรัมย์ ทรงมีพระวินิจฉัยว่าการวางเฉดสีที่มีความเข้ม ส่งผลให้ลายมัดหมี่ไม่คมชัด และขาดจุดเด่น กลุ่มจึงพัฒนาเลือกผ้ามัดหมี่ที่มีลวดลายคมชัดและมัดย้อมด้วยโทนสีสว่าง และใช้เฉดสีที่ตัดกันกับผ้าลวดลายเดิม เพื่อให้ลวดลายเดิมคมชัดยิ่งขึ้น
ผ้าไหมมัดหมี่ประยุกต์ ลวดลายแฟชั่น กลุ่มผ้าตุ้มทอง จ.บุรีรัมย์ ทรงชื่นชมว่าสวยงามเป็นผลิตภัณฑ์แนวแฟชั่น และทรงแนะนำควรฟอกย้อมด้วยสีธรรมชาติ กลุ่มจึงพัฒนาการย้อมสีด้วยเปลือกไม้ธรรมชาติ ได้แก่ ต้นประดู่ และต้นไม้พื้นถิ่นอื่นๆ ที่ให้สีติดทนนานยิ่งขึ้น
ผ้าไหมยกทอง กลุ่มเฮือนผ้าเฮือนแพร จ.มหาสารคาม ทรงพระวินิจฉัยแนะให้ใช้เส้นเงิน/ทอง ที่นำเข้าจากอินเดีย แทนเส้นเงิน/ทองจากญี่ปุ่น เนื่องจากคุณภาพดีกว่า กลุ่มพัฒนาตามพระราชวินิจฉัย โดยทอมือด้วยไหมไทยพันธุ์พื้นบ้าน ย้อมด้วยสีธรรมชาติ ใช้เส้นเงิน/ทอง จากอินเดีย
ผ้าหมี่ขิดสะกิดล้วง ย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มฝ้ายแกมไหม จ.อุดรธานี ทรงพระวินิจฉัยให้ใช้สีธรรมชาติในการย้อม ให้มีเฉดสีสันมากกว่าเดิม กลุ่มจึงสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าใช้เส้นใยฝ้ายแกมไหม ย้อมสีธรรมชาติโดยใช้ใบกระถินและขมิ้นเพิ่มความเข้มให้สีผ้า, เข็มขัดเงิน กลุ่มดาเครื่องเงิน และตอกลาย โดยนางณัฎฐา ธนุนาจารย์ จ.สุรินทร์ ทรงพระวินิจฉัยให้ทำเข็มขัดที่เปลี่ยนได้หลายๆ หัว นอกจากความงดงามแล้ว ยังเกิดความหลากหลายในการใช้งาน
ทั้งนี้ ทรงให้ความสนพระทัย ทอดพระเนตรโดยละเอียดทุกผลงาน ด้วยพระปรีชาญาณในด้านศิลปะ การออกแบบ และเข้าพระทัยถึงทิศทางและความเป็นไปของวงการแฟชั่น ทรงพระราชทานแนวทางการพัฒนาต่อยอดที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านคุณภาพของสี โทนสี คุณภาพเส้นใย และเทรนด์ที่จะโดดเด่นอยู่ในแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในอนาคต
รวมถึงวัสดุที่เลือกใช้ ลวดลายและเทคนิคการทอผ้าแบบต่างๆ แก่ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ เพื่อนำไปอธิบายขยายผลสู่ทุกกลุ่มให้สามารถสร้างสรรค์คุณค่า คุณภาพ และความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ตามพระประสงค์ต่อไป
กรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติฯ ได้รับพระกรุณาธิคุณ พระราชทานลายผ้า ชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ตามพระดำริ “ผ้าไทย ใส่ให้สนุก” จากการเสด็จไปทอดพระเนตรผลิตภัณฑ์ด้านผ้า และงานหัตถกรรม 3 ภูมิภาค และพระราชทานพระอนุญาตให้กลุ่มทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค นำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้า เป็นต้นแบบ และพัฒนาต่อยอดตามวิถีอัตลักษณ์ประจำถิ่น ปลุกกระแสความนิยมในผ้าไทยจนได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวาง
เพื่อสนองในพระกรุณาธิคุณ และการต่อยอดการพัฒนาผ้าลายพระราชทาน กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาศักยภาพผ้าไทย โดยร่วมบูรณาการกับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย ขับเคลื่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านผ้าไทย (Coaching) ให้กับกลุ่มช่างฝีมือ ช่างทอ ทั้ง ๔ ภาค และจัดการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้สืบทอดภูมิปัญญาผ้าไทย รวมทั้งสร้างศิลปินช่างทอผ้ารุ่นใหม่
ทุกๆ ผลงานที่ได้รับการรังสรรค์อย่างประณีตเหล่านี้ จะถูกนำจัดแสดงในนิทรรศการ “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ในงาน “ศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ณ ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ในเดือนส.ค.นี้อีกด้วย เพื่อเป็นเกียรติประวัติแห่งความภาคภูมิใจ และขวัญกำลังใจแก่ผู้ประกวดที่มีความมุ่งมั่นในการที่จะสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดินต่อไป

๙๒๒.สมาคมสตรีอาสาสมัครแห่งประเทศไทยฯ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ มอบทุนการศศึกษาให้ เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและนักเรียนที่ขาดทุนทรัพย์ จำนวน ๕๗ คน เป็นเงินทั้งสิ้น ๑๓๔,๐๐๐ บาท
วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๐ น.นางขจิตพรรณ ไทยเพ็ชร นายกสมาคมสตรีอาสาสมัครแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี เป็นประธานการชุมคณะกรรมการ ผ่านระบบ Line vdo call พร้อมด้วยคณะกรรมการและสมาชิกเข้าร่วมประชุม จำนวน ๒๐ ท่าน และมี นักเรียน บางส่วนเข้าร่วมประชุม นอกจากนี้มีอาจารย์ซึ่งเป็นผู้แทนจากโรงเรียนที่ได้รับทุนเข้าประชุมร่วม จำนวน ๑๐ ท่าน โดยนักเรียนที่เข้ารับทุนมีจำนวน ๕๗ ทุนละ ระดับประถม ทุนละ๒,๐๐๐ บาท ระดับมัธยมทุนละ ๒,๕๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๓๔,๐๐๐ บาท ( หนึ่งแสนสามหมื่นสี่พันบาทถ้วน )
สำหรับนักเรียนผู้รับทุนการศึกษา จะเป็นทุนต่อเนื่อง นักเรียนคนเดิม รับเรียนจบชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๖ โดยที่นักเรียนที่รับทุนเป็นนักเรียน ที่มีผลการเรียนดี มีความประพฤติดี แต่ขาดทุนทรัพย์ นักเรียนแต่ละคนที่ได้รับทุน คุณครูของโรงเรียน เป็นผู้คัดเลือกนักเรียน มาโดยคุณครู จะส่งรายชื่อนักเรียน ที่เหมาะสมได้รับทุน มายังสมาคมฯ โรงเรียนละ ๕ - ๑๐ คน
รายงานข่าว : สมาคมสมาคมสตรีอาสาสมัครแห่งประเทศไทยฯ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๙๒๑. สมาคมสมาคมสตรีอาสาสมัครแห่งประเทศไทยฯ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดคฤหบดี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ สืบทอดประเพณีสำคัญทางพระพุทธศาสนา ส่งเสริมชุมชนย่านเก่า เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานผ้าพระกฐินให้สมาคมสตรีอาสาสมัครแห่งประเทศไทยฯสมาคมสตรีอาสาสมัครแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตามที่ขอพระราชทาน เพื่อน้อมนำไปถวายพระสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส เพื่อทำนุบำรุงและสืบทอดพระพุทธศาสนาที่วัดคฤหบดี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ โดยนางขจิตพรรณ ไทยเพ็ชร นายกสมาคมสตรีอาสาสมัครแห่งประเทศไทยฯ เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน พร้อมถวายจตุปัจจัย ยอดเงินรวม ๘๖๒,๐๑๙ บาท
วัดคฤหบดี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่พระยาราชมนตรีบริรักษ์ (ภู่) ต้นสกุลภมรมนตรี เป็นผู้สร้างในปี พ.ศ. 2367[1] โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระแทรกคำที่ได้มาจากเวียงจันทน์ให้เป็นพระประธานด้วยในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดคฤหบดีครั้งใหญ่ ทำให้อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีสภาพถาวรมั่นคงเป็นที่พอพระราชหฤทัย และได้พระราชทานตราประจำรัชกาลพระองค์ประดิษฐานไว้จนกระทั่งบัดนี้
รายงานข่าว : สมาคมสมาคมสตรีอาสาสมัครแห่งประเทศไทยฯ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๙๒๐ ประมวลภาพ สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ ร่วมออกร้านงานกาชาดภากาชาดไทย ประจำปี ๒๕๖๒ ภายใต้แนวคิด “เย็นศิระเพราะพระบริบาล เกิดสายธารการให้ที่งดงาม” ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ สวนลุมพินี
๙๒๐ ประมวลภาพ สภาสมาคมสตรีแห่งชาติฯ ร่วมออกร้านงานกาชาดภากาชาดไทย ประจำปี ๒๕๖๒ ภายใต้แนวคิด “เย็นศิระเพราะพระบริบาล เกิดสายธารการให้ที่งดงาม” ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ณ สวนลุมพินี

