๗๒๓. สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน จัดตั้ง “ โรงครัวปันน้ำใจ สู้ภัยโควิด-๑๙ ” เพื่อน้อมใจถวายความจงรักภักดี ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ๖๙ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔
วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ๖๙ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ คณะกรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติฯ และคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ พร้อมด้วยองค์กร สมาชิก สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ และผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน ร่วมเปิดโครงการ "โรงครัวปันน้ำใจ ต้านภัยโควิด-๑๙" เพื่อน้อมใจถวายความจงรักภักดี ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ ณ อาคารจอดรถ ชั้น ๖ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ในการนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานนำถวายความเคารพเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นกล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล โดย "โรงครัวปันน้ำใจ ต้านภัยโควิด-19" กำหนดดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๑ - ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เพื่อประกอบอาหารปรุงสุก วันละ ๑,๐๐๐ กล่อง มอบแก่บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด–๑๙) ในเขตกรุงเทพมหานคร
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า “เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และภาคีเครือข่าย น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ที่ทรงมีน้ำพระราชหฤทัย บำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อความผาสุกของพสกนิกรชาวไทย เพื่อดำเนินการตามพระราโชบาย “สืบสาน รักษา และต่อยอด” แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาสู่พระราชกรณียกิจนานัปการ ด้วยพระราชวิริยะอุตสาหะ โดยมิทรงย่อท้อ เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข แก่อาณาประชาราษฎร์ และบ้านเมืองเสมอมา ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้เชิญชวนข้าราชการกรมการพัฒนาชุมชนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งภาคีเครือข่ายและพี่น้องประชาชน ได้ร่วมกันทำความดีเป็นปฏิบัติบูชา เพื่อแสดงความจงรักภักดีร่วมกัน ตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔ โดยจัดตั้ง "โรงครัวปันน้ำใจ ต้านภัยโควิด-๑๙" เพื่อประกอบอาหารปรุงสุก วันละ ๑,๐๐๐ กล่อง เพื่อมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่ได้รับกระทบจากสถานการณ์โควิด-๑๙ ในเขตชุมชนวัดระฆังฯ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ ๑ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ซึ่งในแต่ละจุดนั้นจะมีตัวแทนมารับข้าวกล่องไปแจกจ่ายให้บุคลากรและประชาชน ดังนี้ ๑. โรงพยาบาลศิริราช จำนวน ๓๐๐ กล่อง ๒. โรงพยาบาลกลาง จำนวน ๒๐๐ กล่อง ๓. โรงพยาบาลสวนเบญจกิติเฉลิมเกียรติ ๘๔ พรรษา จำนวน ๑๗๐ กล่อง ๔. โรงพยาบาลสนามราชพิพัฒน์ (ศูนย์วัดศรีสุดาราม) เขตบางกอกน้อย จำนวน ๒๐๐ กล่อง ๕. พระภิกษุ สามเณร แม่ชี วัดระฆังฯ จำนวน ๑๐๐ กล่อง ๖. เจ้าหน้าที่กวาดขยะ สำนักงานเขตบางกอกน้อย จำนวน ๓๐ กล่อง
แหล่งที่มา : กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ

๗๒๒. สมาคมซอนต้า ประเทศไทย องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ มอบกล่องยังชีพ “ซอนต้า” จำนวน ๓๐๐ กล่อง มูลค่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้ศูนย์การช่วยเหลือของกระทรวง พม. และเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. รับฟังนโยบายการช่วยเหลือผู้ประสบภัย COVID-๑๙ ในทุกมิติ
วันจันทร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้การต้อนรับ ดร. ลาลีวรรณ กาญจนจารี รองประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และ ดร. สร้อยเพชร เรศานนท์ นายกสมาคมซอนต้า ประเทศไทย พร้อมด้วยที่ปรึกษา และคณะกรรมการของสมาคมซอนต้า ประเทศไทย เพื่ออธิบายภารกิจของรัฐบาล ในการช่วยเหลือบรรเทาผู้ประสบภัย COVID –๑๙ ในทุกมิติ และผู้บริหารกระทรวงระดับสูงได้ปรึกษาหาแนวทางความร่วมมือ ในการช่วยเหลือศูนย์แม่เลี้ยงเดี่ยว ทั่วประเทศ ณ ห้องประชุม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในโอกาสนี้ ดร. ลาลีวรรณ กาญจนจารี ได้บริจาคเงินจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท และสมาคมซอนต้า ประเทศไทย โดย ดร. สร้อยเพชร เรศานนท์ และที่ปรึกษาสมาคม พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้นำกล่องยังชีพ “ซอนต้า” จำนวน ๓๐๐ กล่อง มูลค่า ๑๐๐,๐๐๐ - บาท มอบให้ศูนย์การช่วยเหลือของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนผู้ที่เดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID –๑๙ และประชาชนผู้ที่ยากไร้และต้องการความช่วยเหลือ ต่อไป
รายงานข่าว : สมาคมซอนต้า ประเทศไทย
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ

๗๒๑. สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ เข้าร่วมเป็นจิตอาสา อำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้ารับบริการ โครงการ ฉีดวัคซีนช่วยชาวประชา ระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน – ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔
เพื่อสานต่อพระราชปณิธานใน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
วันพุธที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติ สมัยที่ ๒๖ (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๔) พร้อมด้วยกรรมการและสมาชิก เข้าร่วมเป็นจิตอาสา โครงการ ฉีดวัคซีนช่วยชาวประชา ของโรงพยาบาลเซ็นทรัลเชียงใหม่ เมโมเรียล เพื่อสานต่อพระราชปณิธานใน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ด้วยทรงห่วงใยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ และทรงให้ความสำคัญต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่มีความจำเป็น เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ในประเทศไทยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมเป็นจิตอาสา โครงการ ฉีดวัคซีนช่วยชาวประชา ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เข้ารับบริการ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๗.๐๐ น. ระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน – ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ณ ห้องเชียงใหม่ ฮอลล์ ศูนย์การเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ด
รายงานข่าว : สมาคมสตรีนครเชียงใหม่
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ

๗๒๐. สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ นำ ผลผลิตพืชผักสวนครัว จำนวน ๒,๒๐๐ กิโลกรัม ร่วมกิจกรรม “มีแล้วแบ่งปัน” สู้ภัยโควิด-๑๙ น้อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
วันพุธที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติ สมัยที่ ๒๖ (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๔) มอบหมายให้นางสาวนันทกา กัลยาณพันธ์ เลขาฯ สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยกรรมการและสมาชิก นำ ผลผลิตพืชผักสวนครัว จำนวน ๒,๒๐๐ กิโลกรัม ประกอบด้วย ฝักทอง หอมหัวแดง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี พริก มะเขือ มะเขือยาว มะเขือพวง ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า มะนาว มะม่วง กระเพรา แมงลัก โหระพา แตงกวา ถั่วฝักยาว ส้มป่อย บวบ มะนาว ผักกาด กล้วย มะละกอ ถั่วฝักยาว เข้าร่วมกิจกรรม “มีแล้วแบ่งปัน” ผัก ผลไม้ บ้านฉันแบ่งปันให้เธอ สู้ภัยโควิด-๑๙ น้อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี จัดโดยพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยมีนายอภิชาติ เหมือนมนัส นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรม และมีภาคีเครือข่ายสตรี และองค์กรภาคส่วนต่างๆ นำพืชผัก เข้าร่วมกิจกรรม “มีแล้วแบ่งปัน” แจกจ่ายผลผลิตพืชผักสวนครัว ให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบและประสบปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายในครอบครัว จากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด- ๑๙ ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
รายงานข่าว : สมาคมสตรีนครเชียงใหม่
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ

๗๑๙. สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ สนทนาสด ในรายการ “ เช้านี้ที่ภาคเหนือ” ทางสถานีโทรทัศน์ NBT เพื่อประชาสัมพันธ์ โครงการ”มีแล้วแบ่งปัน”ผัก ผลไม้ บ้านฉันแบ่งปันให้เธอ สู้ภัยโควิด-๑๙
วันอังคารที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. รายการ “ เช้านี้ที่ภาคเหนือ” สถานีโทรทัศน์ NBT สำนักประชาสัมพันธ์ เขต ๓ เชียงใหม่ เรียนเชิญ นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติ สมัยที่ ๒๖ (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๔) นายสุวรรณ เกตุดำ พัฒนาการอำเภอเมืองเชียงใหม่ สนทนาสดเพื่อประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรม ”มีแล้วแบ่งปัน” ผัก ผลไม้ บ้านฉันแบ่งปันให้เธอ สู้ภัยโควิด-๑๙ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ๓ มิถุนายน ๒๕๖๔
นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ กล่าวว่า สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ประกอบด้วย นางสาวนันทกา กัลยาณพันธ์ เลขาธิการสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ร่วมกับ นายสุวรรณ เกตุดำ พัฒนาการอำเภอเมืองเชียงใหม่ ประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรม ”มีแล้วแบ่งปัน” ผัก ผลไม้ บ้านฉันแบ่งปันให้เธอ สู้ภัยโควิด-๑๙ เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ๓ มิถุนายน ๒๕๖๔
นางสาววรัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า สืบเนื่องจากสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้เครือข่ายสตรีในอำเภอเมืองเชียงใหม่ปลูกพืชผักสวนครัว ในโครงการ ปลูกผักสวนครัว สู่ชุมชน เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓ ณ เทศบาลตำบลท่าศาลา โดยทางสมาคมฯได้มอบเมล็ดพันธุ์ผัก ผ่านนายอำเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อมอบให้กับกรรมการสตรีอำเภอเมืองเชียงใหม่ ทั้ง ๙ ตำบล และ ๑ เทศบาลนคร นำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วยวิกฤกติ โควิด ๑๙ และสร้างความมั่นคงทางอาหารไปสู่ครัวเรือน และเพื่อเป็นการต่อยอดขยายผลโครงการ ปลูกผักสวนครัว สู่ชุมชน โดยกำหนด ในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๐๓ น. ทางสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ นำโดยนางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมฯ พร้อมด้วยกรรมการ สมาชิก และเครือข่ายสตรีจะได้นำเมล็ดพันธุ์ผัก ผลผลิตพืชผักสวนครัว จำนวนกว่า ๒,๐๐๐ กิโลกรัม นำไปร่วมกิจกรรม ”มีแล้วแบ่งปัน” ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองเชียงใหม่ ร่วมกับองค์กรหน่วยงานต่างๆ แจกจ่ายผลผลิตพืชผักสวนครัว เมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว ต้นกล้า ผลไม้ อาหารแห้ง ปุ๋ยหมัก นำมาแบ่งปัน ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีฯ
รายงานข่าว : สมาคมสตรีนครเชียงใหม่
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ

๗๑๘. ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการสภาสตรีแห่งชาติฯ และผู้แทนองค์กรสมาชิก บันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)
วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๐.๓๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์อาเศียรวาทถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎร โดยมีคณะกรรมการสภาสตรีแห่งชาติฯ และผู้แทนองค์กรสมาชิก ประกอบด้วย ดร.สมจิตร ศิริเสนา เลขาธิการ ดร.อรุณศรี จงเจียมจิตต์ กรรมการอำนวยการ นางพรทิพย์ ตั้งกีรติ กรรมการอำนวยการ นางธัญพักตร์ สุรศักดิ์นิธิกุล กรรมการสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดร้อยเอ็ด องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมบันทึกเทปฯ ในครั้งนี้ด้วย ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ถนนวิภาวดี เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร
ภาพ/ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์

๗๑๗. WEBSITE ไทยรัฐเผยแพร่ กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติฯ เปิดเวทีการประกวดผ้าลายพระราชทาน "ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ระดับภาคhttps://www.thairath.co.th/news/local/2124865
กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติ เปิดเวทีการประกวดผ้าลายพระราชทาน "ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ระดับภาค เพื่อคัดเลือก ๗๕ ผ้าพื้นถิ่นที่ดีที่สุด พร้อมมุ่งรักษามรดกงานศิลป์ล้ำค่าของแผ่นดินไทย
วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นประธานในการประกวดผ้าลายพระราชทาน "ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ระดับภาค โดยมี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน คณะกรรมการประกวดระดับภาค ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ สื่อมวลชน ณ โรงแรมเซ็นทารา และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดอุดรธานี
นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า การประกวดผ้าลายพระราชทาน "ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ในวันนี้ถือเป็นจุดท้ายสุดในการประกวดระดับภาค เพื่อคัดเลือก 75 ผ้าพื้นถิ่นที่ดีที่สุด จาก 4 ภูมิภาค เข้าตัดสินในระดับประเทศ โดยเริ่มต้นจากภาคกลางที่จังหวัดอยุธยา ภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงาน OTOP CITY 2020 เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมา พระองค์ทรงมุ่งมั่นที่จะสืบสานพระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาไทย เพื่อฟื้นฟูมรดกงานศิลป์ล้ำค่าของแผ่นดินไทยอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ เพื่อสื่อความหมายและส่งมอบความรักและความสุขให้แก่ชาวไทยทุกคน และพระราชทานพระอนุญาตให้กลุ่มทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค สามารถนำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้าได้ อีกทั้งพระราชทานพระอนุญาตให้กรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้จัดการประกวดผ้าลายพระราชทาน "ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ตามโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาศักยภาพผ้าไทย ระดับภาค โดยได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริ ในวิถีของการวิจัยและพัฒนา หรือ R&D ผ้าไทยให้ได้รับการยกระดับ
ขณะที่ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ เปิดเผยว่า สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีสมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงาน พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา ในการพลิกฟื้นผ้าไทย จากสิ่งทอของชาวบ้านที่เกือบสูญหายให้กลับมาเป็นอาภรณ์ที่สวมใส่ให้คนทั่วโลกยอมรับถึงคุณค่าและความงดงามอันประเมินค่ามิได้ ซึ่งในระยะเวลากว่า 60 ปี ได้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน ก่อให้เกิดรายได้แก่กลุ่มสตรีและพี่น้องคนไทยทั่วทุกภูมิภาค และในการประกวดผ้าลายพระราชทาน "ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณววีฯ" ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทาน "ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ให้ในการประกวดทั้ง 4 ภูมิภาค ทำให้วงการผ้าไทยกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับการประกวดผ้าลายพระราชทานฯ ในวันนี้ถือเป็นที่น่าภาคภูมิใจของพี่น้องชาวตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด เป็นอย่างมาก ที่มีการส่งผ้าเข้าประกวดในระดับภาคเยอะที่สุดในประเทศไทย มากกว่า 1,677 ผืน ประเภทผ้าที่ส่งเข้าประกวดมากที่สุดคือ คือ ผ้ามัดหมี่ 2 ตะกอ ส่งเข้าประกวดมากถึง 1,070 ผืน รองลงมา คือ ผ้ามัดหมี่ 3 ตะกอ 294 ผืน, ผ้าขิด 92 ผืน, ผ้าเทคนิคสร้างสรรค์ 68 ผืน, ผ้าเทคนิคผสม 51 ผืน, ผ้ายกดอก 26 ผืน, ผ้าแพรวา 22 ผืน, ผ้าบาติก/มัดย้อม 22 ผืน, ผ้าจกทั้งผืน 10 ผืน, ผ้าปักมือ 9 ผืน, ผ้ายกเล็ก 5 ผืน, ผ้ายกใหญ่ 3 ผืน, ผ้าตีนจก 3 ผืน, ผ้าลายน้ำไหล 1 ผืน และผ้าพิมพ์ลาย 1 ผืน ซึ่งทุกผืนล้วนมาจากความตั้งใจและงดงาม โดย กรมการพัฒนาชุมชน ได้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คร่ำหวอดในแวดวงแฟชั่นผ้าไทย ร่วมตัดสินคัดเลือก
ในส่วนของการประกวดระดับภาคนั้น โดยไม่มีการจำกัดจำนวนผ้าที่เข้ารอบแต่อย่างใด ผลงานที่เข้ารอบทั้งหมดจะไปเข้าสู่การตัดสินให้เหลือ 75 ผืนสุดท้าย ที่ดีที่สุด จาก 4 ภูมิภาค เหลือเพียง 75 ผืน เข้ารอบชิงชนะเลิศระดับประเทศต่อไป โดยรอบ Semi Final จะจัดขึ้นในวันที่ 1 ก.ค. 2564 ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร และรอบตัดสินรางวัลการประกวดในระดับประเทศ ดำเนินการระหว่างวันที่ 27-29 ก.ค. 2564 โดยกรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระราชินูปถัมภ์ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในการตัดสิน เป็นมิ่งขวัญและกำลังใจอย่างยิ่ง.
แหล่งที่มา : https://www.thairath.co.th/news/local/2124865
กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติฯ เปิดเวทีการประกวดผ้าลายพระราชทาน "ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ" ระดับภาค
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๗๑๖. หนังสือพิมพ์รายวันเดลินิวส์ เผยแพร่ สภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมหับกรมการพัฒนาชุมชน จัดคนผ้าทั่วอีสานประกวด "ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ". อ่านต่อทีhttps://dailynews.co.th/politics/852412
สภาสตรีแห่งชาติฯ และกรมการพัฒนาชุมชน น้อมรับพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯทรงมุ่งมั่นอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาไทย ร่วมกิจกรรมคนผ้าอีสานประกวด “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” พร้อมคัดเลือก ๗๕ ผ้าพื้นถิ่นที่ดีที่สุดจาก ๔ ภูมิภาค รักษามรดกศิลป์ล้ำค่าของแผ่นดินไทย
วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นประธานในการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ระดับภาค โดยมี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน คณะกรรมการประกวดระดับภาค ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ สื่อมวลชน ณ โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดอุดรธานี โดยเน้นย้ำมาตรการป้องกัน การเว้นระยะห่างระหว่างกัน และสวมหน้ากากอนามัย ตรวจวัดอุณหภูมิอย่างเคร่งครัด
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า การประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ในวันนี้ถือเป็นจุดท้ายสุดในการประกวดระดับภาค เพื่อคัดเลือก ๗๕ ผ้าพื้นถิ่นที่ดีที่สุด จาก ๔ ภูมิภาค เข้าตัดสินในระดับประเทศ โดยเริ่มต้นจากภาคกลางที่จังหวัดอยุธยา ภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงาน OTOP CITY ๒๐๒๐ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา พระองค์ทรงมุ่งมั่นที่จะสืบสานพระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาไทย เพื่อฟื้นฟูมรดกงานศิลป์ล้ำค่าของแผ่นดินไทยอย่างแท้จริง ด้วยพระอัจฉริยภาพ พระองค์ทรงต่อยอดผสมผสานมุมมองด้านแฟชั่นที่ร่วมสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งการสืบสานอัตลักษณ์ เรื่องราวประจำภูมิภาค เป็นคุณูปการอย่างยิ่งแก่ปวงชนคนไทยไม่ว่าจะในชนบทและเมือง ทรงพระราชทานแบบลายผ้า ชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ผ่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อสื่อความหมายและส่งมอบความรักและความสุขให้แก่ชาวไทยทุกคน และพระราชทานพระอนุญาตให้กลุ่มทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค สามารถนำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้าได้ อีกทั้งพระราชทานพระอนุญาตให้กรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้จัดการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ตามโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาศักยภาพผ้าไทย ระดับภาค โดยได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริ ในวิถีของการวิจัยและพัฒนา หรือ R&D ผ้าไทยให้ได้รับการยกระดับ และคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อกระตุ้นให้พี่น้องกลุ่มทอผ้าทั้งหลาย ได้พัฒนาฝีมือ ค้นหาเทคนิควิธีการในการผลิตผ้าไทยให้ดีขึ้น เหมาะสมแก่การตัดเย็บเสื้อผ้าสมัยใหม่ เหนือล้ำไปกว่าการมุ่งหวังผลแพ้ชนะ คือการสืบสาน รักษา และต่อยอดแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ในโอกาสนี้ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ได้เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีสมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงาน พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา ในการพลิกฟื้นผ้าไทย จากสิ่งทอของชาวบ้านที่เกือบสูญหายให้กลับมาเป็นอาภรณ์ที่สวมใส่ให้คนทั่วโลกยอมรับถึงคุณค่าและความงดงามอันประเมินค่ามิได้ ซึ่งในระยะเวลากว่า ๖๐ ปี ได้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน ก่อให้เกิดรายได้แก่กลุ่มสตรีและพี่น้องคนไทยทั่วทุกภูมิภาค และในการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณววีฯ” ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทาน “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ให้ในการประกวดทั้ง ๔ ภูมิภาค ทำให้วงการผ้าไทยกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง กี่ทอผ้ากลับกลายมาเสียงกระตุกอีกครั้ง ตลาดให้การยอมรับเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดมิติใหม่ นำผ้าไทยไปออกแบบ ตัดเย็บ ออกแบบลวดลายได้ทันสมัย และสิ่งที่สำคัญในพระมหากรุณาครั้งนี้ ต้องการสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงได้มีการรณรงค์สืบสานผ้าไทย ตามโครงการ“สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ซึ่งหากคนไทย ๓๕ ล้านคน ใส่ผ้าไทย ๑๐ เมตร ๆ ละ ๓๐๐ บาท จะทำให้เพิ่มรายได้ ๓ แสนล้านบาท กลับคืนสู่ชุมชนไทย และยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-๑๙ ทุกคนในประเทศได้ผลกระทบเป็นอย่างมาก การสวมใส่ผ้าไทยก็เป็นการช่วยเหลือพี่น้องคนไทยร่วมกัน ก็ขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยทั้งประเทศสวมใส่ผ้าไทยไม่ว่าจะเป็น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม และอย่างยิ่งเดือนกรกฎาคม เป็นเดือนแห่งการเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ และในเดือนสิงหาคมเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระพันปีหลวง มาร่วมกันถวายพระเกียรติสวมใส่ผ้าไทย ด้วยความภาคภูมิใจร่วมกัน
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การประกวดผ้าลายพระราชทานฯ ในวันนี้ถือเป็นที่น่าภาคภูมิใจของพี่น้องชาวตะวันออกเฉียงเหนือ ๒๐ จังหวัด เป็นอย่างมาก ที่มีการส่งผ้าเข้าประกวดในระดับภาคเยอะที่สุดในประเทศไทย มากกว่า ๑,๖๗๗ ผืน ประเภทผ้าที่ส่งเข้าประกวดมากที่สุดคือ คือ ผ้ามัดหมี่ ๒ ตะกอ ส่งเข้าประกวดมากถึง ๑,๐๗๐ ผืน รองลงมา คือ ผ้ามัดหมี่ ๓ ตะกอ ๒๙๔ ผืน, ผ้าขิด ๙๒ ผืน ผ้าเทคนิคสร้างสรรค์ ๖๘ ผืน, ผ้าเทคนิคผสม ๕๑ ผืน, ผ้ายกดอก ๒๖ ผืน, ผ้าแพรวา ๒๒ ผืน ผ้าบาติก/มัดย้อม 22 ผืน, ผ้าจกทั้งผืน 10 ผืน, ผ้าปักมือ 9 ผืน, ผ้ายกเล็ก 5 ผืน, ผ้ายกใหญ่ 3 ผืน, ผ้าตีนจก 3 ผืน ผ้าลายน้ำไหล ๑ ผืน และผ้าพิมพ์ลาย ๑ ผืน ซึ่งทุกผืนล้วนมาจากความตั้งใจและงดงาม โดย กรมการพัฒนาชุมชน ได้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คร่ำหวอดในแวดวงแฟชั่นผ้าไทย ร่วมตัดสิน คัดเลือก ในส่วนของการประกวดระดับภาคนั้น โดยไม่มีการจำกัดจำนวนผ้าที่เข้ารอบแต่อย่างใด ผลงานที่เข้ารอบทั้งหมดจะไปเข้าสู่การตัดสินให้เหลือ ๗๕ ผืนสุดท้าย ที่ดีที่สุด จาก ๔ ภูมิภาค เหลือเพียง ๗๕ ผืน เข้ารอบชิงชนะเลิศระดับประเทศต่อไป โดยรอบ Semi Final จะจัดขึ้นในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร และรอบตัดสินรางวัลการประกวดในระดับประเทศ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ โดยกรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระราชินูปถัมน์ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในการตัดสิน เป็นมิ่งขวัญและกำลังใจอย่างยิ่ง ผลงานของผู้ชนะการประกวด เป็น The Best of The Best จะถูกนำมาออกแบบตัดเย็บเป็นฉลองพระองค์ และได้รับเหรียญพระราชทาน พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่พระองค์ทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง มีนัยยะสะท้อนชัดเจนถึงการทรงงานเพื่อยกระดับคุณค่าผ้าไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ตามพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อีกทั้งพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกาย สิ่งทอ เผยแพร่ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ผ้าทุกผืนที่ทุกคน ทุกกลุ่มใช้ฝีมือร่วมกันสร้างสรรค์ เสริมส่งให้เกิดการพัฒนาศักยภาพวงการผ้าไทยให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน เป็นวงจรเศรษฐกิจเชิงมหภาค
ในการนี้ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้กล่าวขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี คณะกรรมการประกวดทุกท่าน และประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่าย รณรงค์ส่งเสริมคนไทยสวมใส่ผ้าไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้จึงเป็นดั่งดอกผลของความมหัศจรรย์ที่พระองค์ท่านได้ทรงพระราชทานแก่พี่น้องคนไทยที่ได้นำลายผ้าพระราชทาน ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ไปรังสรรค์แสดงผลงานเข้าประกวดกันในครั้งนี้ ทำให้วงการผ้าไทยเกิดความคึกคัก ปลุกกระแสผ้าไทยสู่สากล สร้างรายได้กลับสู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน
แหล่งที่มา : คนผ้าทั่วอีสานประกวด "ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ"
อ่านต่อที่ : https://dailynews.co.th/politics/852412
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๗๑๕. สภาสตรีแห่งชาติฯ และกรมการพัฒนาชุมชน น้อมรับพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯทรงมุ่งมั่นอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาไทย ประกวดผ้าอีสาน “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” พร้อมคัดเลือก ๗๕ ผ้าพื้นถิ่นดีที่สุดจาก ๔ ภูมิภาค
วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นประธานในการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ระดับภาค โดยมี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน คณะกรรมการประกวดระดับภาค ตลอดจนแขกผู้มีเกียรติ สื่อมวลชน ณ โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดอุดรธานี โดยเน้นย้ำมาตรการป้องกัน การเว้นระยะห่างระหว่างกัน และสวมหน้ากากอนามัย ตรวจวัดอุณหภูมิอย่างเคร่งครัด
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า การประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ในวันนี้ถือเป็นจุดท้ายสุดในการประกวดระดับภาค เพื่อคัดเลือก ๗๕ ผ้าพื้นถิ่นที่ดีที่สุด จาก ๔ ภูมิภาค เข้าตัดสินในระดับประเทศ โดยเริ่มต้นจากภาคกลางที่จังหวัดอยุธยา ภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงาน OTOP CITY ๒๐๒๐ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา พระองค์ทรงมุ่งมั่นที่จะสืบสานพระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาไทย เพื่อฟื้นฟูมรดกงานศิลป์ล้ำค่าของแผ่นดินไทยอย่างแท้จริง ด้วยพระอัจฉริยภาพ พระองค์ทรงต่อยอดผสมผสานมุมมองด้านแฟชั่นที่ร่วมสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งการสืบสานอัตลักษณ์ เรื่องราวประจำภูมิภาค เป็นคุณูปการอย่างยิ่งแก่ปวงชนคนไทยไม่ว่าจะในชนบทและเมือง ทรงพระราชทานแบบลายผ้า ชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ผ่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อสื่อความหมายและส่งมอบความรักและความสุขให้แก่ชาวไทยทุกคน และพระราชทานพระอนุญาตให้กลุ่มทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค สามารถนำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้าได้ อีกทั้งพระราชทานพระอนุญาตให้กรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้จัดการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ตามโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาศักยภาพผ้าไทย ระดับภาค โดยได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริ ในวิถีของการวิจัยและพัฒนา หรือ R&D ผ้าไทยให้ได้รับการยกระดับ และคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อกระตุ้นให้พี่น้องกลุ่มทอผ้าทั้งหลาย ได้พัฒนาฝีมือ ค้นหาเทคนิควิธีการในการผลิตผ้าไทยให้ดีขึ้น เหมาะสมแก่การตัดเย็บเสื้อผ้าสมัยใหม่ เหนือล้ำไปกว่าการมุ่งหวังผลแพ้ชนะ คือการสืบสาน รักษา และต่อยอดแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ เปิดเผยว่า สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีสมเด็จพระพันปีหลวง ทรงเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงาน พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา ในการพลิกฟื้นผ้าไทย จากสิ่งทอของชาวบ้านที่เกือบสูญหายให้กลับมาเป็นอาภรณ์ที่สวมใส่ให้คนทั่วโลกยอมรับถึงคุณค่าและความงดงามอันประเมินค่ามิได้ ซึ่งในระยะเวลากว่า ๖๐ ปี ได้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน ก่อให้เกิดรายได้แก่กลุ่มสตรีและพี่น้องคนไทยทั่วทุกภูมิภาค และในการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณววีฯ” ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทาน “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ให้ในการประกวดทั้ง ๔ ภูมิภาค ทำให้วงการผ้าไทยกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง กี่ทอผ้ากลับกลายมาเสียงกระตุกอีกครั้ง ตลาดให้การยอมรับเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดมิติใหม่ นำผ้าไทยไปออกแบบ ตัดเย็บ ออกแบบลวดลายได้ทันสมัย และสิ่งที่สำคัญในพระมหากรุณาครั้งนี้ ต้องการสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงได้มีการรณรงค์สืบสานผ้าไทย ตามโครงการ“สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ซึ่งหากคนไทย ๓๕ ล้านคน ใส่ผ้าไทย ๑๐ เมตร ๆ ละ ๓๐๐ บาท จะทำให้เพิ่มรายได้ ๓ แสนล้านบาท กลับคืนสู่ชุมชนไทย และยิ่งในช่วงวิกฤตโควิด-๑๙ ทุกคนในประเทศได้ผลกระทบเป็นอย่างมาก การสวมใส่ผ้าไทยก็เป็นการช่วยเหลือพี่น้องคนไทยร่วมกัน ก็ขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยทั้งประเทศสวมใส่ผ้าไทยไม่ว่าจะเป็น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม และอย่างยิ่งเดือนกรกฎาคม เป็นเดือนแห่งการเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ และในเดือนสิงหาคมเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระพันปีหลวง มาร่วมกันถวายพระเกียรติสวมใส่ผ้าไทย ด้วยความภาคภูมิใจร่วมกัน
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การประกวดผ้าลายพระราชทานฯ ในวันนี้ถือเป็นที่น่าภาคภูมิใจของพี่น้องชาวตะวันออกเฉียงเหนือ ๒๐ จังหวัด เป็นอย่างมาก ที่มีการส่งผ้าเข้าประกวดในระดับภาคเยอะที่สุดในประเทศไทย มากกว่า ๑,๖๗๗ ผืน ประเภทผ้าที่ส่งเข้าประกวดมากที่สุดคือ คือ ผ้ามัดหมี่ ๒ ตะกอ ส่งเข้าประกวดมากถึง ๑,๐๗๐ ผืน รองลงมา คือ ผ้ามัดหมี่ ๓ ตะกอ ๒๙๔ ผืน, ผ้าขิด ๙๒ ผืน ผ้าเทคนิคสร้างสรรค์ ๖๘ ผืน, ผ้าเทคนิคผสม ๕๑ ผืน, ผ้ายกดอก ๒๖ ผืน, ผ้าแพรวา ๒๒ ผืน ผ้าบาติก/มัดย้อม 22 ผืน, ผ้าจกทั้งผืน 10 ผืน, ผ้าปักมือ 9 ผืน, ผ้ายกเล็ก 5 ผืน, ผ้ายกใหญ่ 3 ผืน, ผ้าตีนจก 3 ผืน ผ้าลายน้ำไหล ๑ ผืน และผ้าพิมพ์ลาย ๑ ผืน ซึ่งทุกผืนล้วนมาจากความตั้งใจและงดงาม โดย กรมการพัฒนาชุมชน ได้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่คร่ำหวอดในแวดวงแฟชั่นผ้าไทย ร่วมตัดสิน คัดเลือก ในส่วนของการประกวดระดับภาคนั้น โดยไม่มีการจำกัดจำนวนผ้าที่เข้ารอบแต่อย่างใด ผลงานที่เข้ารอบทั้งหมดจะไปเข้าสู่การตัดสินให้เหลือ ๗๕ ผืนสุดท้าย ที่ดีที่สุด จาก ๔ ภูมิภาค เหลือเพียง ๗๕ ผืน เข้ารอบชิงชนะเลิศระดับประเทศต่อไป โดยรอบ Semi Final จะจัดขึ้นในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร และรอบตัดสินรางวัลการประกวดในระดับประเทศ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ โดยกรมการพัฒนาชุมชน และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระราชินูปถัมน์ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในการตัดสิน เป็นมิ่งขวัญและกำลังใจอย่างยิ่ง ผลงานของผู้ชนะการประกวด เป็น The Best of The Best จะถูกนำมาออกแบบตัดเย็บเป็นฉลองพระองค์ และได้รับเหรียญพระราชทาน พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่พระองค์ทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง มีนัยยะสะท้อนชัดเจนถึงการทรงงานเพื่อยกระดับคุณค่าผ้าไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย ตามพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง อีกทั้งพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้านการออกแบบเครื่องแต่งกาย สิ่งทอ เผยแพร่ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ผ้าทุกผืนที่ทุกคน ทุกกลุ่มใช้ฝีมือร่วมกันสร้างสรรค์ เสริมส่งให้เกิดการพัฒนาศักยภาพวงการผ้าไทยให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน เป็นวงจรเศรษฐกิจเชิงมหภาค
ในการนี้ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้กล่าวขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี คณะกรรมการประกวดทุกท่าน และประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่าย รณรงค์ส่งเสริมคนไทยสวมใส่ผ้าไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้จึงเป็นดั่งดอกผลของความมหัศจรรย์ที่พระองค์ท่านได้ทรงพระราชทานแก่พี่น้องคนไทยที่ได้นำลายผ้าพระราชทาน ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ไปรังสรรค์แสดงผลงานเข้าประกวดกันในครั้งนี้ ทำให้วงการผ้าไทยเกิดความคึกคัก ปลุกกระแสผ้าไทยสู่สากล สร้างรายได้กลับสู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน
แหล่งที่มา : กองประชาสัมพันธ์ กรมการพัฒนาชุมชน
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๗๑๔. องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี ร่วมต้อนรับประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ และ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในโอกาสมาเยี่ยมเยียนองค์กรสมาชิกในจังหวัดอุดรธานี
วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติจังหวัดอุดรธานี พญ.เฉลิมวรรณ ศศิประภา นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี และคระกรรมการของ ๓ สมาคม ร่วมกัน ต้อนรับ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และคณะ เนื่องในโอกาสเดินทางมาเยี่ยมเยียนองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ และ นมัสการ พระครูใบฎีกากฤษณ์ กิตติญาโณ (พระอาจารย์ ตุ๋ย) ณ วัดนิมิตโพธิญาณ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
รายงานข่าว : สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

