๓๙. สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดฉะเชิงเทรา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการเข้าร่วมพิธีบวงสรวงองค์พระพุทธโสธร เพื่อปฏิสังขรณ์องค์พระพุทธโสธรที่ชำรุด ถวายเป็นพุทธบูชา แด่พระพุทธโสธร พระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
วันนี้ ( ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕) เวลา ๑๐.๑๙ น. ที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร ได้จัดพิธีบวงสรวงองค์พระพุทธโสธร เพื่อปฏิสังขรณ์องค์พระพุทธโสธรที่ชำรุด เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่พระพุทธโสธร พระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีพระราชภาวนาพิธาน” (ศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน) เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นประธานฝ่านสงฆ์ และนายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ร่วมด้วย นางจันทรรัตน์ ไตรติลานันท์ นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดฉะเชิงเทรา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ หัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน อุบาสก อุบาสิกา เข้าร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียงกัน
องค์พระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาว จ.ฉะเชิงเทรา และเป็นที่เคารพศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลก มีความสูง ๖ ฟุต ๗ นิ้ว หน้าตักกว้าง ๕ ฟุต ๖ นิ้ว ซึ่งหลังจากที่ได้มีการปิดพระอุโบสถเดิมหลังเก่าเมื่อกว่า ๓๐ ปีที่แล้ว (พ.ศ. ๒๕๓๑ ) และมีการใช้เทคนิคทางวิศกรรมสมัยใหม่ โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายองค์พระหลวงพ่อโสธร และพระพุทธรูปหมู่ทั้ง ๑๘ พระองค์ไปจากจุดเดิมที่เคยตั้งประดิษฐานไว้ ทั้งนี้เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้มีกรณีพบรอยร้าวแตกกร่อนบนองค์พระหลวงพ่อโสธร และพระพุทธรูปหมู่ ๑๘ พระองค์บางองค์ ภายในพระอุโบสถหลังใหม่ ทางวัดจึงได้ประสานกับสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ให้เข้ามาตรวจสอบ ได้พบว่าองค์หลวงพ่อโสธร และพระพุทธรูปหมู่บางพระองค์มีรอยกะเทาะแตกร้าวออกมา โดยได้มีการสันนิษฐานว่า เกิดจากการเสื่อมสภาพของสีที่พอกทาอยู่ภายนอกด้วยวัสดุสมัยใหม่ ที่ไม่ประสานเข้ากันกับเนื้อวัสดุดั้งเดิม จึงทำให้มีการแตกร่อนหลุดออกมา นอกจากนี้ยังเชื่อว่าอาจจะมีปัญหาในส่วนของความชื้นภายในร่วมด้วย สำหรับแนวทางการปรับปรุงแก้ไขนั้น ทางสำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี ได้เตรียมแนวทางในการปรับปรุงองค์พระหลวงพ่อโสธร และพระพุทธรูปหมู่พระองค์อื่นๆ ที่แตกร้าว ด้วยการจะทำเป็นลักษณะของการลงรักปิดทองคำเปลวทั่วทั้งองค์ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความชื้นที่เข้ามาแทรกในเนื้อ ระหว่างรอยประสานของวัสดุเก่าและรอยพอกใหม่ ซึ่งเป็นเพียงการแตกกร่อนเฉพาะส่วนที่เป็นเปลือกนอกเท่านั้น
รายงานข่าว : สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา
ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๘. องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯในจังหวัดอุดรธานี รวมพลังทำความดีต่อเนื่อง มอบเงินให้เด็กและพี่เลี้ยง พร้อมนำข้าวมันไก่ ไอศกรีม และน้ำดื่ม ไปเลี้ยงเด็กและบุคลากรที่ศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี
วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ รวมพลังทำความดี ประกอบด้วย ท่านนางพรวิไล แสนประเสริฐ กรมชั้นคนของแนวลาวสร้างชาติ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี สมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติจังหวัดอุดรธานี และสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติ จังหวัดอุดรธานี ได้มอบเงินให้เด็กและพี่เลี้ยงเด็ก คนละ ๑,๐๐๐ บาท พร้อมนำข้าวมันไก่ ไอศกรีม และน้ำดื่ม ไปเลี้ยงเด็กและบุคลากรที่ศูนย์ฯ โดยมี รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติ จังหวัดอุดรธานี นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี พร้อมคณะ ไปร่วมต้อนรับ โดยมีนางกฤษณา ธีระวุฒิ ประธานศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี พร้อมคณะกรรมการ สมาชิก และเด็กๆให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นยิ่ง
รายงานข่าว :สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๗ .สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย-นครปฐม มอบวิวแชร์และถุงยังชีพเครื่องอุปโภคบริโภค ให้ครัวเรือนเปราะบางในจังหวัดนครปฐม เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕
วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ที่ทำการ บริษัท ไมโครลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) นางสาวณัฏฐ์ปภาณ จันทร์ละมูล นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย-นครปฐม องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ พร้อมคณะกรรมการและสมาชิกรั ได้รับมอบวิวแชร์จำนวน ๑๐ คัน และถุงยังชีพเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน ๑๐๐ ชุด จากบริษัท ไมโครลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณธรรมศักดิ์ อัชญาวัฒน์ ประธานก่อตั้งและ คุณรสนันท์ ยิ่งทวีศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทฯ และมอบให้ นางชวนชม จันทะวงษ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครปฐม เพื่อนำไปมอบให้ผู้ที่ประสบความเดือดร้อนและต้องการความช่วยเหลือต่อไป
บริษัท ไมโครลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมบริจาคในโครงการนครปฐมรวมน้ำใจช่วยเหลือผู้ยากไร้
เนื่องในโอกาสวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ โดยทางบริษัทมอบผ่านสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย-นครปฐมเพื่อให้สมาคมฯนำไปมอบให้ทางพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครปฐม ได้นำไปมอบต่อให้ทางครัวเรือนเปราะบางในจังหวัดนครปฐมต่อไป
รายงานข่าว :สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย-นครปฐม
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๖. ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยนางพรทิพย์ ตั้งกีรติ นายกสมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ รายงานสรุปกิจกรรม
วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ศูนย์ศิลปาชีพวัดน้ำเต้า ตำบลน้ำเต้า อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายวีระชัย นาคมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครเป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อฝึกทักษะการทอผ้าลายขอสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ร่วมกับลายอัตลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมพิธีเปิดฯ โดยมี นายประจัญ จันทร์เนตร์ พัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายอำเภอมหาราช พัฒนาการอำเภอมหาราช คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดฯ คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีฯ ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ให้การต้อนรับ โดยมี นางพรทิพย์ ตั้งกีรติ นายกสมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวรายงานบรรยายสรุปกิจกรรม และนางมุกดา ธิษณ์ธนากร นายกสมาคมสตรีศรีอยุธยา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ และกรรมการสมาคมสมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมาคมสตรีศรีอยุธยา เข้าร่วมในพิธี พร้อมด้วยคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างพร้อมเพรียง
นายวีระชัย นาคมาศ กล่าวว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความโชคดีที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงก่อตั้งศูนย์ศิลปาชีพวัดน้ำเต้าแห่งนี้ เป็นสถานที่ฝึกอบรม สร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่น บุคคลทั่วไปและยังสืบทอดจนถึงปัจจุบัน การจัดฝึกอบรมในวันนี้ได้รับเกียรติจากนายวิฑูรย์ ศิลาคำ ที่ปรึกษากรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านการทอผ้าเป็นอย่างดีเป็นผู้ฝึกสอน เพื่อให้การทอผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณารีฯ ร่วมกับลายปลาตะเพียน ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้ชุมชนและครอบครัว
นางพรทิพย์ ตั้งกีรติ กล่าวว่า ด้วยความสำนึกในพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงพลิกฟื้นผ้าไทยในรูปแบบใหม่ ฟื้นคืนชีวิตแล้วก็สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับคนไทยทั้งประเทศ พระองค์ทรงเจริญรอยตามพระยุคลบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสานต่องานด้านศิลปหัตถศิลป์ ซึ่งเป็นมรดกทางภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถักทอด้วยฝีมือของชาวนาชาวไร่ ทรงมีพระทัยอันแน่วแน่ ที่จะส่งเสริมอาชีพกลุ่มทอผ้าในทุกภาคที่ก่อเกิดขึ้น จากสายธารแห่งพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า ให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืน และสานต่อด้านการอนุรักษ์ผ้าทอพื้นเมือง อันทรงคุณค่ายิ่งไว้บนผืนแผ่นดินไทยสืบต่อไป
สมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสมาคมสตรีศรีอยุธยา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ มีความมุ่งมั่นเพื่อฝึกการทอผ้าลายขอเจ้าฟ้า ร่วมกับลายอัตลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็น ๑ ใน ๒ กิจกรรมที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดฝึกอบรม ในส่วนกิจกรรมแรก เป็นการฝึกประดิษฐ์ผีเสื้อจากผ้าบาติกลายดอกโสน เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ซึ่งในวันนี้ได้จัดฝึกพัฒนาทักษะกิจกรรมที่ ๒ เพื่อเป็นการฝึกทักษะการทอผ้าผ้าลายขอสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ร่วมกับลายปลาตะเพียน เป็นลายอัตลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในระหว่างวันที่ ๖ - ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ทั้งนี้ มีสมาชิกสตรีกลุ่มทอผ้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเข้าร่วมรับการฝึก จำนวน ๑๕ คน ในนามองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอเชิญชวนให้พี่น้องคนไทย สนับสนุนช่วนกันซื้อผ้าทอชาวชุมชนและสวมใส่ผ้าไทย เพรเพื่อท่านเป็นจะส่วนหนึ่ง ในการช่วยเหลือชุมชน ช่วยเหลือเศรษฐกิจฐานราก รายได้ก็จะกลับไปสู่ชุมชนในชนบทต่อไป
รายงานข่าว : สมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสมาคมสตรีศรีอยุธยา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๕. นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ เข้าครัวโชว์ฝีมือสูตรเด็ด อาหารพื้นเมือง "ตำขนุน" จากนั้นพาท่านผู้ชมสัมผัสวิถีชีวิต วัฒนธรรมแบบชาวไทยยองวัดป่าตาล พร้อมการฟ้อนแสดงการต้อนรับ ในรายการ “คุณนายจ่ายตลาด
วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕ นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ กรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งขาติฯ ได้รับเชิญเป็นแขกพิเศษในรายการ “คุณนายจ่ายตลาด” ตอนที่ ๒ ทางช่อง ๓๔ สถานีโทรทัศน์อัมรินทร์ทีวี เผยแพร่วัฒนธรรมอาหารพื้นเมืองแบบล้านนา เข้าครัวโชว์ฝีมือทำเมนูพื้นเมืองกับ "ตำขนุน" ของดีของไทยยอง เผยเคล็ดลับสูตรเด็ด การันตีโดยน้องซาร่า ผู้ดำเนินรายการ เอ่ยปากชมว่าอร่อยมากๆจากนั้นคุณนายวรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ นำท่านผู้ชม ไปสัมผัสวิถีชีวิต วัฒนธรรมแบบชาวไทยยอง วัดป่าตาล พร้อมการแสดงต้อนรับแบบประทับใจ
รายงานข่าว : สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๔. นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ได้รับเชิญร่วมเป็นเกียรติประเพณีพิธีรดน้ำดำหัว อันดีงาม เพื่อขอขมาและขอพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ณ ศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี
วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๕นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์พร้อมคณะกรรมการสมาคมฯ ได้รับเชิญ จากนางกฤษณา ธีระวุฒิ ประธานศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี ร่วมเป็นเกียรติประเพณีพิธีรดน้ำดำหัว เพื่อขอขมาและขอพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ในช่วงเทศกาลวันสงกราต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย ณ โรงแรมเจริญโฮเต็ล จังหวัดอุดรธานี
รายงานข่าว : สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๓. สมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ สมาคมสตรีศรีอยุธยา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯพร้อมด้วยคณะกรรมการและสมาชิก รวมน้ำใจทำความดีอย่างต่อเนื่อ มอบเงินให้สตรีผู้ประสบภัยไฟไหม้บ้านทั้งหลัง ในพื้นที่ตำบลท่าตอ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนคร
วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ที่บ้านเลขที่ ๖๒ หมู่ที่ ๔ ต.ท่าตอ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นางพรทิพย์ ตั้งกีรติ นายกสมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำคณะกรรมการและสมาชิก จากสมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ สมาคมสตรีศรีอยุธยา องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดินทางไปเยี่ยมเยียน เป็นกำลังใจ พร้อมมอบเงินจำนวน ๔๓,๓๐๐ บาท ให้ น.ส.สุภาพ เฉลิมพักตร์ สตรีที่บ้านถูกไฟไหม้หมดทั้งหลัง โดยมี นางสมบัติ คงเจริญ กำนันตำบลท่าตอ ให้การต้อนรับ นอกจากนี้ ยังมีผู้แทน จากบริษัทเมืองไทยประกันภัยลงไปมอบเงินช่วยเหลือ จำนวนเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท อีกด้วย
รายงานข่าว : สมาคมกองทุนสวัสดิการเพื่อสตรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๒. นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ได้รับเชิญร่วมประกอบพิธี "พิธีบายศรีสู่ขวัญ” ให้บุตรชายสมาชิกสมาค ออกไปทำหน้าที่ชายชาติทหาร เพื่อเรียกขวัญ ให้เป็นสิริมงคล ตามวัฒนธรรมอันดีงามของภาคอีสาน
วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๕ นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ พร้อมคณะกรรมการและสมาชิกสมาคม ไปร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญ หลานชายคุณอุดร รัตน์ประเสริฐกุล ซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี พิธีบายศรีสู่ขวัญ และรำเรียกขวัญ เป็นวัฒนธรรมอันดีงามของภาคอีสาน จัดทำขึ้นเพื่อเรียกขวัญและให้กำลังใจหลานชายที่จะต้องจากไปทำหน้าที่ชายชาติทหารที่กรุงเทพมหานคร จัดทำขึ้นที่ร้านฉำฉาคาเฟ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ประเพณีการสู่ขวัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านาน เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ เรื่องขวัญหรือจิตใจอันก่อให้เกิดกำลังใจที่ดีขึ้น ชาวอีสานเห็นความสำคัญทางด้านจิตใจมาก ในการดำเนินชีวิตแต่ละช่วง มักมีการสู่ขวัญควบคู่กันเสมอ จึงพบเห็นการสู่ขวัญทุกท้องถิ่นในภาคอีสาน
การสู่ขวัญ เรียกอีกอย่างว่า การสูดขวัญ หรือการสูดขวน เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่ง เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่คน หรือเสริมสิริมงคลแก่บ้านเรือน ล้อเลื่อน เกวียน วัว รถ เป็นต้น การสู่ขวัญจึงเป็นพิธีกรรมหนึ่ง ที่ทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบำรุงขวัญถือเป็นการรวมสิริแห่งโภคทรัพย์
ในพิธีสู่ขวัญ บางทีเรียกว่า พิธีบายศรี พิธีสูดขวัญ หรือบายศรีสู่ขวัญ ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน และนิยมทำกัน แทบทุกโอกาส จะมีการทำบายศรีประกอบในพิธี โดยเป็นบายศรีแบบดั้งเดิมหรือแบบประยุกต์ ซึ่งการทำบายศรีแบบประยุกต์นี้ จะทำตามจินตนาการของผู้ทำบายศรีให้เกิดความสวยงามวิจิตรพิสดารและสอดคล้องกับความเชื่อของท้องถิ่นนั้นๆ โดยชาวอีสานยังคงยึดถือและปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน
รายงาน : สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี
เรียบเรียงข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๑. สามองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี สนับสนุนและอุดหนุนสินค้า OTOP สร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชน ตามโครงการ"เพื่อนช่วยเพื่อน"
วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. สามองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติจังหวัดอุดรธานี นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี
พญ.เฉลิมวรรณ ศศิประภา นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี พร้อมคณะ ไปสนับสนุนและอุดหนุนสินค้า OTOP อาหารรสเลิศ คุณภาพดี จากร้านอาหารที่มีคุณภาพจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ นำมาจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลอุดร จัดโดย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี โดยสามองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี ร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี นำรายได้คืนกลับให้ชาวชุมชน ตามโครงการ"เพื่อนช่วยเพื่อน"
รายงานข่าว : สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี
ฝ่ายประชาสัมพันธ์สภาสตรีแห่งชาติฯ

๓๐.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลาง ตามโครงการยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลาง
เมื่อเวลา ๑๑. ๔๕. น. วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลาง ตามโครงการยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลาง กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ที่ปรึกษาสภาตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางสาวสุกัญญา ประจวบเหมาะ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางวาสนา นวลนุกูล รองประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้แทนจังหวัดภาคกลาง ๒๐ จังหวัด ถวายรายงาน และกลุ่มทอผ้า เฝ้ารับเสด็จ
โอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานพระวโรกาสให้สมาชิกศิลปาชีพ จำนวน ๒๒ ราย เฝ้ารับพระราชทานคำแนะนำ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้า เครื่องปั้นดินเผา และงานหัตถกรรมจักสาน ให้มีความร่วมสมัยแต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ความเป็นธรรมชาติและการบอกเล่าเรื่องราวประจำภูมิภาคให้เป็นที่ยอมรับและความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งทรงเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าและแฟชั่นแถวหน้าของเมืองไทยร่วมให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาแก่กลุ่มทอผ้าที่เฝ้ารับเสด็จ จำนวน ๕๐ กลุ่ม
จากนั้น ได้ทอดพระเนตรการจัดนิทรรศการผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ประจำจังหวัดภาคกลาง พร้อมทั้งพระราชทานลายผ้า “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” หนังสือดอนกอยโมเดล หนังสือผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ กลุ่มสีจากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทยเล่มที่ ๒ แก่ช่างทอผ้าและผู้ประกอบการ OTOP และทอดพระเนตรการแสดงรำแคนรวมญาติชาติพันธุ์พื้นถิ่นภาคกลาง ซึ่งเป็นการแสดงที่สื่อให้เห็นถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของจังหวัดนครปฐม อาทิ กะเหรี่ยง มอญ ไทยโซ่ง ไท-ยวน ลาวเวียง ลาวคลั่ง ลาวใต้
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาอย่างหาที่สุดมิได้ และเป็นโชคดีของคนไทย ที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่และมุ่งมั่นในการแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด พระบรมราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อรักษาไว้ซึ่งสมบัติทางวัฒนธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานหัตถกรรม หัตถศิลป์ การทอผ้าในแต่ละท้องถิ่น ด้วยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่ และที่เป็นความตื้นตันใจ เป็นที่ชื่นอกชื่นใจ ทำให้เกิดแรงกล้า แรงศรัทธาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าของช่างทอผ้ากลุ่มต่าง ๆ นั่นคือการที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนารูปแบบ ลวดลาย ผ้าไทย ให้มีความทันสมัย เป็นที่ต้องการของตลาดสากล โดยทรงมีพระวินิจฉัยและพระราชทานคำแนะนำ คำปรึกษาให้กับกลุ่มช่างทอผ้าโดยไม่ถือองค์เอง พระหัตถ์ที่ทรงสัมผัสกับเนื้อผ้าและผลงานแต่ละผืน แต่ละชิ้น แต่ละลวดลาย ล้วนทำให้สัมผัสได้ถึงความใส่พระทัยและความตั้งพระทัยมั่นที่จะทำให้ศิลปวัฒนธรรมผ้าทอไทยของประชาชนเกิดการพัฒนาต่อยอด
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีพระดำริในด้านความยั่งยืนของหัตถศิลป์ หัตถกรรมไทยที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการพระราชทานแนวทางการใช้สีจากธรรมชาติในการย้อมผ้า เพื่อไม่เกิดมลภาวะต่อดิน น้ำ และอากาศ อันเป็นพระวิสัยทัศน์ที่ทำให้เกิดคุณูปการต่อโลกใบเดียวนี้ ยังความตื้นตันใจและความสำนึกในพระมหากรุณา เป็นการปลุกพลังช่างทอผ้าในการสนองพระดำริด้วยการมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนางานให้เกิดการเพิ่มมูลค่า เพิ่มคุณค่า และส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของผ้าแต่ละท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลางในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด พระบรมราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รักษาสมบัติทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะศิลปหัตถกรรมทอผ้าในแต่ละท้องถิ่น อนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่ยั่งยืนตลอดไป
อีกทั้งยังเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ อัตลักษณ์ศิลปภูมิปัญญาไทยและสร้างความเชื่อมโยงกันในจังหวัดภาคกลาง และเป็นการประชาสัมพันธ์ศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาไทยของกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยภายในงานมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จำนวน ๕๐ กลุ่ม อาทิ “ผ้ามัดหมี่ลายตาขอสับปะรด” จากกลุ่มทอผ้าไหมลายโบราณบ้านวังคอไห อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท ใช้เทคนิคการต่อตีนจกลายดอกแก้วสีชมพูย้อมจากครั่ง สีเหลืองจากแก่นต้นขนุน สีดำย้อมมะเกลือ สีส้มย้อมจากเมล็ดคำแสด สีเขียวย้อมจากครามทับแก่นขนุน
“ผ้าด้นมือ” จากกลุ่มหัตถกรรมผ้าด้นมือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การสร้างสรรค์เครื่องเรือนเป็นลวดลายชุด “กุหลาบแห่งความรัก” ย้อมครั่งและใช้เทคนิคด้นมือที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอัตลักษณ์ “ผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์” บ้านสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีความโดดเด่นด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญา การนำเปลือกไม้ ใบไม้และครั่งที่มีในถิ่นที่อยู่มาย้อมสีไหม-ฝ้าย แล้วนำมาทอด้วยกี่เอวเป็นผ้าทอ เครื่องนุ่งห่มที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ “ผ้าทอกระเหรี่ยงลายพระอาทิตย์และลายสลับ” จากศูนย์วัฒนธรรมไทย-กะเหรี่ยง ส่วนหัวซิ่นจะทอเป็นผ้าพื้น ส่วนซิ่นทอลายมัดหมี่สีแดงอมส้มสลับลายทอยกดอก ส่วนตีนซิ่นทอลายจกแล้วเย็บกับตัวซิ่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านหนองเครือบุญ ได้คิดนวัตกรรมใช้ประโยชน์จากผักตบชวา มาทำให้เกิดมูลค่า สร้างรายได้ ทั้งรักษาสภาพแวดล้อม
โดยผลิตเป็นเส้นใยผักตบชวา นำมาทอผสมกับเส้นใยฝ้าย จะเกิดเป็นเส้นริ้วบางๆ อยู่ในเนื้อผ้ามีเฉดสีเอิร์ธโทน ผ้าซิ่นตีนจกต่อตัว ผ้ายกดอกถมเกสร จากหนานเอฟ ผ้าจกไทยวน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ได้รับแรงบันดาลใจมากจากผ้าโบราณ นำมาพัฒนาสีสันและออกแบบลวดลายโดยมีลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เป็นลายหลักทอขึ้นจากไหมบ้าน สาวด้วยมือ ย้อมด้วยสีธรรมชาติ, ผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวน จากวงเดือนผ้าจกไท-ยวน ถักทอด้วยเส้นไหมย้อมสีธรรมชาติ จากพืชที่หาได้ในท้องถิ่นนำมาสกัดสีแล้วนำเส้นไหมลงไปย้อมเพื่อให้ได้สีสันตามที่ต้องการ ใช้เทคนิคการทอด้วยวิธีการจกนับเส้นไหมทีละเส้นและวิธีการยกมุกหรือการขิด จนเป็นผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวนย้อมสีธรรมชาติ
ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาอย่างหาที่สุดมิได้ที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ผ่านนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และตน เพื่อมอบให้กับช่างทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค นำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้าตามอัตลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าท้องถิ่นทั่วประเทศ
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้จัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด เพื่อนำไปมอบให้กับช่างทอผ้าฯ ตามพระประสงค์ และในขณะนี้จังหวัดต่างๆ ได้มีการจัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทานฯ ให้แก่ช่างทอผ้าแล้ว ซึ่งลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” นี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงได้รับแรงบันดาลพระทัยจาก “ผ้าขิดลายสมเด็จ” ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงพระราชทานแก่ราษฎร อันเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาผ้าไทยให้มีความร่วมสมัย โดยแต่ละลวดลายมีความหมายที่ลึกซึ้ง ได้แก่ ลาย S ที่ท้องผ้า หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้ทรงออกแบบให้เว้นช่องว่างไว้ เพื่อให้ราษฎรได้ร่วมถักทอลวดลายของตนเองลงในช่องว่าง เป็นการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากแต่ละท้องถิ่น
โดย “ลายขิดที่เป็นกรอบล้อมรอบตัว S” หมายถึงความจงรักภักดีที่ชาวไทยมีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์ ลายเชิงผ้ารูปหัวใจ หมายถึง ความรักของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่มีต่อปวงชนชาวไทย “ลาย S ประกอบกับลายขิดที่เชิงผ้า” หมายถึง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงปรารถนาให้คนไทยอยู่ดีมีสุข “ลายต้นสนที่เชิงผ้า” หมายถึง พระดำริใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ของโครงการศิลปาชีพฯ อันลายต้นสนนี้ เป็นลวดลายพื้นถิ่นที่ถักทออยู่บนผืนผ้าของบ้านนาหว้า จังหวัดนครพนม ที่ซึ่งเป็นจุดกำเนิดโครงการศิลปาชีพฯ “ลายหางนกยูงที่เชิงผ้า” หมายถึง ความตั้งพระทัยมั่นของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการสืบสาน รักษาและต่อยอด พระราชกรณียกิจของสมเด็จย่าของพระองค์ ในการฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้าไทยให้ดำรงคงอยู่คู่แผ่นดิน
ด้านตัวแทนกลุ่มช่างทอผ้า ได้กล่าวถึงความรู้สึกภายหลังการรับเสด็จในครั้งนี้ด้วยความปลาบปลื้มตื้นตันใจว่า เป็นพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่ได้รับพระมหากรุณาจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา หรือ “พระองค์หญิง” เสด็จมาทอดพระเนตรผลงานที่พวกเราตั้งอกตั้งใจทอ ตั้งใจปั้น ตั้งใจวาดลวดลาย สร้างสรรค์ชิ้นงานให้มีความสวยงามตามลายของบรรพบุรุษในชุมชน/หมู่บ้าน โดยพระองค์ท่านไม่ถือองค์เองเลย ทรงหยิบผ้า ทรงสัมผัสผลงาน แล้วทอดพระเนตร และพระราชทานคำแนะนำให้พวกเราได้ไปพัฒนาต่อยอด ทั้งเรื่องการย้อมผ้าเฉดสีต่างๆ
โดยทรงเน้นย้ำให้ใช้สีธรรมชาติ และปลูกต้นไม้ที่ให้สีธรรมชาติให้เพิ่มเติมทดแทนมากขึ้น การใช้ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ผสมผสานกับความสมัยใหม่ และการออกแบบชุดที่เข้ากับวัยรุ่น เข้ากับเด็กรุ่นใหม่ให้มากขึ้น ซึ่งนับตั้งแต่พระองค์ท่านพระราชทานแบบลายผ้า ทั้ง “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี” และ “ผ้าลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” ทำให้ชีวิตของพวกเราดีขึ้น มียอดการจำหน่ายผ้าเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก จนทอ จนผลิตผ้ากันไม่ทันเลยทีเดียว ซึ่งเราทุกคนจะเร่งพัฒนาตามที่พระองค์ท่านได้พระราชทานคำแนะนำ และจะขอเทิดทูนพระองค์ท่านไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม นำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดสู่ลูกหลาน ให้เกิดความยั่งยืนกับครอบครัว กับหมู่บ้าน กับชุมชนของพวกเราตลอดไป
เมื่อเวลา ๑๑. ๔๕. น. วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลาง ตามโครงการยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลาง กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
โดยมี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ที่ปรึกษาสภาตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางสาวสุกัญญา ประจวบเหมาะ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นายวิฑูรย์ นวลนุกูล รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางวาสนา นวลนุกูล รองประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้แทนจังหวัดภาคกลาง ๒๐ จังหวัด ถวายรายงาน และกลุ่มทอผ้า เฝ้ารับเสด็จ
โอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานพระวโรกาสให้สมาชิกศิลปาชีพ จำนวน ๒๒ ราย เฝ้ารับพระราชทานคำแนะนำ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้า เครื่องปั้นดินเผา และงานหัตถกรรมจักสาน ให้มีความร่วมสมัยแต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ความเป็นธรรมชาติและการบอกเล่าเรื่องราวประจำภูมิภาคให้เป็นที่ยอมรับและความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งทรงเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าและแฟชั่นแถวหน้าของเมืองไทยร่วมให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาแก่กลุ่มทอผ้าที่เฝ้ารับเสด็จ จำนวน ๕๐ กลุ่ม
จากนั้น ได้ทอดพระเนตรการจัดนิทรรศการผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ประจำจังหวัดภาคกลาง พร้อมทั้งพระราชทานลายผ้า “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” หนังสือดอนกอยโมเดล หนังสือผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ กลุ่มสีจากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทยและการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทยเล่มที่ ๒ แก่ช่างทอผ้าและผู้ประกอบการ OTOP และทอดพระเนตรการแสดงรำแคนรวมญาติชาติพันธุ์พื้นถิ่นภาคกลาง ซึ่งเป็นการแสดงที่สื่อให้เห็นถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของจังหวัดนครปฐม อาทิ กะเหรี่ยง มอญ ไทยโซ่ง ไท-ยวน ลาวเวียง ลาวคลั่ง ลาวใต้
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาอย่างหาที่สุดมิได้ และเป็นโชคดีของคนไทย ที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่และมุ่งมั่นในการแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด พระบรมราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อรักษาไว้ซึ่งสมบัติทางวัฒนธรรม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานหัตถกรรม หัตถศิลป์ การทอผ้าในแต่ละท้องถิ่น ด้วยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่ และที่เป็นความตื้นตันใจ เป็นที่ชื่นอกชื่นใจ ทำให้เกิดแรงกล้า แรงศรัทธาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าของช่างทอผ้ากลุ่มต่าง ๆ นั่นคือการที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนารูปแบบ ลวดลาย ผ้าไทย ให้มีความทันสมัย เป็นที่ต้องการของตลาดสากล โดยทรงมีพระวินิจฉัยและพระราชทานคำแนะนำ คำปรึกษาให้กับกลุ่มช่างทอผ้าโดยไม่ถือองค์เอง พระหัตถ์ที่ทรงสัมผัสกับเนื้อผ้าและผลงานแต่ละผืน แต่ละชิ้น แต่ละลวดลาย ล้วนทำให้สัมผัสได้ถึงความใส่พระทัยและความตั้งพระทัยมั่นที่จะทำให้ศิลปวัฒนธรรมผ้าทอไทยของประชาชนเกิดการพัฒนาต่อยอด
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีพระดำริในด้านความยั่งยืนของหัตถศิลป์ หัตถกรรมไทยที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการพระราชทานแนวทางการใช้สีจากธรรมชาติในการย้อมผ้า เพื่อไม่เกิดมลภาวะต่อดิน น้ำ และอากาศ อันเป็นพระวิสัยทัศน์ที่ทำให้เกิดคุณูปการต่อโลกใบเดียวนี้ ยังความตื้นตันใจและความสำนึกในพระมหากรุณา เป็นการปลุกพลังช่างทอผ้าในการสนองพระดำริด้วยการมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนางานให้เกิดการเพิ่มมูลค่า เพิ่มคุณค่า และส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของผ้าแต่ละท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลางในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอด พระบรมราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รักษาสมบัติทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะศิลปหัตถกรรมทอผ้าในแต่ละท้องถิ่น อนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่ยั่งยืนตลอดไป
อีกทั้งยังเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ อัตลักษณ์ศิลปภูมิปัญญาไทยและสร้างความเชื่อมโยงกันในจังหวัดภาคกลาง และเป็นการประชาสัมพันธ์ศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาไทยของกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยภายในงานมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จำนวน ๕๐ กลุ่ม อาทิ “ผ้ามัดหมี่ลายตาขอสับปะรด” จากกลุ่มทอผ้าไหมลายโบราณบ้านวังคอไห อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท ใช้เทคนิคการต่อตีนจกลายดอกแก้วสีชมพูย้อมจากครั่ง สีเหลืองจากแก่นต้นขนุน สีดำย้อมมะเกลือ สีส้มย้อมจากเมล็ดคำแสด สีเขียวย้อมจากครามทับแก่นขนุน
“ผ้าด้นมือ” จากกลุ่มหัตถกรรมผ้าด้นมือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การสร้างสรรค์เครื่องเรือนเป็นลวดลายชุด “กุหลาบแห่งความรัก” ย้อมครั่งและใช้เทคนิคด้นมือที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอัตลักษณ์ “ผ้าทอกะเหรี่ยงโปว์” บ้านสองพี่น้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี มีความโดดเด่นด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญา การนำเปลือกไม้ ใบไม้และครั่งที่มีในถิ่นที่อยู่มาย้อมสีไหม-ฝ้าย แล้วนำมาทอด้วยกี่เอวเป็นผ้าทอ เครื่องนุ่งห่มที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ “ผ้าทอกระเหรี่ยงลายพระอาทิตย์และลายสลับ” จากศูนย์วัฒนธรรมไทย-กะเหรี่ยง ส่วนหัวซิ่นจะทอเป็นผ้าพื้น ส่วนซิ่นทอลายมัดหมี่สีแดงอมส้มสลับลายทอยกดอก ส่วนตีนซิ่นทอลายจกแล้วเย็บกับตัวซิ่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าบ้านหนองเครือบุญ ได้คิดนวัตกรรมใช้ประโยชน์จากผักตบชวา มาทำให้เกิดมูลค่า สร้างรายได้ ทั้งรักษาสภาพแวดล้อม
โดยผลิตเป็นเส้นใยผักตบชวา นำมาทอผสมกับเส้นใยฝ้าย จะเกิดเป็นเส้นริ้วบางๆ อยู่ในเนื้อผ้ามีเฉดสีเอิร์ธโทน ผ้าซิ่นตีนจกต่อตัว ผ้ายกดอกถมเกสร จากหนานเอฟ ผ้าจกไทยวน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ได้รับแรงบันดาลใจมากจากผ้าโบราณ นำมาพัฒนาสีสันและออกแบบลวดลายโดยมีลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เป็นลายหลักทอขึ้นจากไหมบ้าน สาวด้วยมือ ย้อมด้วยสีธรรมชาติ, ผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวน จากวงเดือนผ้าจกไท-ยวน ถักทอด้วยเส้นไหมย้อมสีธรรมชาติ จากพืชที่หาได้ในท้องถิ่นนำมาสกัดสีแล้วนำเส้นไหมลงไปย้อมเพื่อให้ได้สีสันตามที่ต้องการ ใช้เทคนิคการทอด้วยวิธีการจกนับเส้นไหมทีละเส้นและวิธีการยกมุกหรือการขิด จนเป็นผ้าซิ่นตีนจกไท-ยวนย้อมสีธรรมชาติ
ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาอย่างหาที่สุดมิได้ที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ผ่านนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และตน เพื่อมอบให้กับช่างทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค นำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้าตามอัตลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าท้องถิ่นทั่วประเทศ
ซึ่งกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้จัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด เพื่อนำไปมอบให้กับช่างทอผ้าฯ ตามพระประสงค์ และในขณะนี้จังหวัดต่างๆ ได้มีการจัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทานฯ ให้แก่ช่างทอผ้าแล้ว ซึ่งลายผ้าพระราชทาน “ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา” นี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงได้รับแรงบันดาลพระทัยจาก “ผ้าขิดลายสมเด็จ” ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงพระราชทานแก่ราษฎร อันเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาผ้าไทยให้มีความร่วมสมัย โดยแต่ละลวดลายมีความหมายที่ลึกซึ้ง ได้แก่ ลาย S ที่ท้องผ้า หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเป็นต้นแบบในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาผ้าไทย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้ทรงออกแบบให้เว้นช่องว่างไว้ เพื่อให้ราษฎรได้ร่วมถักทอลวดลายของตนเองลงในช่องว่าง เป็นการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากแต่ละท้องถิ่น
โดย “ลายขิดที่เป็นกรอบล้อมรอบตัว S” หมายถึงความจงรักภักดีที่ชาวไทยมีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์ ลายเชิงผ้ารูปหัวใจ หมายถึง ความรักของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่มีต่อปวงชนชาวไทย “ลาย S ประกอบกับลายขิดที่เชิงผ้า” หมายถึง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงปรารถนาให้คนไทยอยู่ดีมีสุข “ลายต้นสนที่เชิงผ้า” หมายถึง พระดำริใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการฟื้นฟูประวัติศาสตร์ของโครงการศิลปาชีพฯ อันลายต้นสนนี้ เป็นลวดลายพื้นถิ่นที่ถักทออยู่บนผืนผ้าของบ้านนาหว้า จังหวัดนครพนม ที่ซึ่งเป็นจุดกำเนิดโครงการศิลปาชีพฯ “ลายหางนกยูงที่เชิงผ้า” หมายถึง ความตั้งพระทัยมั่นของ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการสืบสาน รักษาและต่อยอด พระราชกรณียกิจของสมเด็จย่าของพระองค์ ในการฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้าไทยให้ดำรงคงอยู่คู่แผ่นดิน
ด้านตัวแทนกลุ่มช่างทอผ้า ได้กล่าวถึงความรู้สึกภายหลังการรับเสด็จในครั้งนี้ด้วยความปลาบปลื้มตื้นตันใจว่า เป็นพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่ได้รับพระมหากรุณาจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา หรือ “พระองค์หญิง” เสด็จมาทอดพระเนตรผลงานที่พวกเราตั้งอกตั้งใจทอ ตั้งใจปั้น ตั้งใจวาดลวดลาย สร้างสรรค์ชิ้นงานให้มีความสวยงามตามลายของบรรพบุรุษในชุมชน/หมู่บ้าน โดยพระองค์ท่านไม่ถือองค์เองเลย ทรงหยิบผ้า ทรงสัมผัสผลงาน แล้วทอดพระเนตร และพระราชทานคำแนะนำให้พวกเราได้ไปพัฒนาต่อยอด ทั้งเรื่องการย้อมผ้าเฉดสีต่างๆ
โดยทรงเน้นย้ำให้ใช้สีธรรมชาติ และปลูกต้นไม้ที่ให้สีธรรมชาติให้เพิ่มเติมทดแทนมากขึ้น การใช้ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ผสมผสานกับความสมัยใหม่ และการออกแบบชุดที่เข้ากับวัยรุ่น เข้ากับเด็กรุ่นใหม่ให้มากขึ้น ซึ่งนับตั้งแต่พระองค์ท่านพระราชทานแบบลายผ้า ทั้ง “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี” และ “ผ้าลายขิดนารีรัตนราชกัญญา” ทำให้ชีวิตของพวกเราดีขึ้น มียอดการจำหน่ายผ้าเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก จนทอ จนผลิตผ้ากันไม่ทันเลยทีเดียว ซึ่งเราทุกคนจะเร่งพัฒนาตามที่พระองค์ท่านได้พระราชทานคำแนะนำ และจะขอเทิดทูนพระองค์ท่านไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม นำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดสู่ลูกหลาน ให้เกิดความยั่งยืนกับครอบครัว กับหมู่บ้าน กับชุมชนของพวกเราตลอดไป

