๔๔๔. ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการ ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓

วันที่ ๒๒ กรกฏาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๐๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ พร้อมด้วย นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ นางลาลีวรรณ กาญจนจารี รองประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ และองค์กรสมาชิก ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อแสดงความจงรักภักดี และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ที่มีต่อปวงชนชาวไทย อย่างหาที่สุดมิได้ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๕ กรุงเทพมหานคร

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ

๔๔๓. ประธานสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการ ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคล วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓

วันที่ ๒๒ กรกฏาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๓๐ น. ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ พร้อมด้วยนางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ นำคณะกรรมการอำนวยการ และคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ และองค์กรสมาชิก ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อแสดงความจงรักภักดี และน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ที่มีต่อปวงชนชาวไทย อย่างหาที่สุดมิได้ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ


๔๔๒. ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ ได้รับเชิญ ร่วมงาน แถลงข่าว OTOP To The Town จัดโดยกรมการพัฒนาชุมชน

เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน OTOP To The Town “โอทอป ภูมิปัญญาไทย ใจกลางเมือง ช่วยคนไทย หลังฝ่าภัยโควิด” โดยมี นายโชคชัย แก้วป่อง นางวิไลวรรณ ไกรโสดา รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และ นางรชตภร โตดิลกเวชช์ ประธานคณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ และที่ปรึกษาอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางบุษบา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด นายสุทธิภัค จิราธิวัฒน์ กรรมการที่ปรึกษา บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด พร้อมสื่อมวลชน และประชาชนร่วมงานคับคั่ง ณ ลานอีเดน ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหนึ่งในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคงและยั่งยืนซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักที่กระทรวงมหาดไทยยึดมั่นในการดำเนินงานมาโดยตลอด มีการวางแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อยกระดับสินค้าภูมิปัญญาไทยให้ก้าวไกลสู่สากลมากขึ้น โดยดำเนินการขับเคลื่อน ๓ แนวทาง คือ การเพิ่มศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม และการส่งเสริมช่องทางการตลาด เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและยกระดับสินค้าโอทอปของไทยให้มาตรฐานและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยหลายปีที่ผ่านมามีการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ในตลาดเดิมที่เคยจัดเป็นประจำและประสบผลสำเร็จในทุกระดับ
สำหรับ ในปีนี้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในทุกระดับ ดังนั้นหลังจากรัฐบาลได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายโควิด-๑๙ ระยะที่ ๔ ในกิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายในประเทศนั้น กระทรวงมหาดไทยจึงได้ให้เดินหน้าจัดกิจกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้ขยายตัวและมีความเข้มแข็ง โดยจัดงาน "OTOP To The Town : โอทอป ภูมิปัญญาไทย ใจกลางเมือง ช่วยคนไทย หลังฝ่าภัยโควิด" งานแสดงสินค้าและจำหน่ายสินค้า OTOP จากทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มช่องทางตลาดให้ผู้ประกอบการ OTOP พร้อมกับสร้างอาชีพเชื่อมโยงเครือข่ายและต่อยอดการค้า สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชน รวมทั้งเป็นอีกช่องทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการหมุนเวียนการใช้จ่ายภายในประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ ตั้งเป้าการจัดงานครั้งนี้จะมีเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ล้านบาท
ทั้งนี้ ภายในงานแสดงสินค้าและจำหน่ายสินค้า OTOP จากทั่วประเทศที่มีผู้ประกอบการเข้าร่วมงานกว่า ๑,๐๐๐ ราย ที่กรมการพัฒนาชุมชนได้คัดสรรสินค้า OTOP คุณภาพมาจัดแสดงและจำหน่ายให้กับผู้บริโภค การแสดงทางศิลปและวัฒนธรรม การแจกของที่ระลึกจากสินค้า OTOP และเนื่องจากการจัดงานเป็นการจัดในพื้นที่ห้างสรรพสินค้า ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีรสนิยมและความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพสูง จึงได้จัดให้มีการนำสินค้า OTOP ที่มีการพัฒนาและยกระดับให้มีคุณภาพสูงมาร่วมจำหน่ายด้วย เช่น บ้านทองสมสมัย จังหวัดสุโขทัย ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ แบรนด์ขวัญตา จังหวัดหนองบัวลำภู ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ คุ้มสุโข จังหวัดขอนแก่น น้ำมันเหลืองโกลครอส จังหวัดตราด

“สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ที่ทั่วโลกได้ประสบ ทำให้ภาวะเศรษฐกิจการลงทุน การค้าขาย ย่ำแย่กันโดยทั่วหน้า แต่ประเทศไทยของเราโชคดีมีรัฐบาลที่เข้มแข็ง และคนไทยมีวินัยช่วยกันปฏิบัติตามแนวทางของรัฐบาลที่ได้กำหนดออกมา ทำให้เรารู้ว่าควรจะใช้ชีวิตกันอย่างไม่ประมาท สำหรับงาน OTOP To The Town ในครั้งนี้ ต้องขอบคุณภาคีเครือข่ายห้างสรรพสินค้าสถานที่สำคัญต่างๆ ทั้ง ๑๑ แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเซ็นทรัล ที่ได้ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน สนองต่อนโยบายของรัฐบาล ในการที่จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ให้ประชาชนมีโอกาสมีชีวิตที่ดี ให้ผู้ประกอบการ OTOP ที่รวมกลุ่มกันในจังหวัดต่างๆ ได้ร่วมกันภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ งานในครั้งนี้ จึงเป็นการนำภูมิปัญญาไทยจากทั่วประเทศไทยเข้ามาสู่ใจกลางเมือง ด้วยช่องทางทางการตลาด เพื่อช่วยเหลือคนไทยให้ฝ่าภัยโควิด-19 ไปด้วยกัน เงินที่ท่านจ่ายไปนั้นไม่ใช่แค่เป็นการซื้อของ แต่มีความสำคัญ มีผลยิ่งใหญ่เพราะว่าเงินจะหมุนกลับไปสู่ชุมชนหลายครอบครัว ซึ่งเป็นการแสดงน้ำใจและการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน "อธิบดีพช.กล่าว
อย่างไรก็ตาม กรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมายจากทางรัฐบาลในหลายโครงการ เรื่องหนึ่งคือ การทำให้พี่น้องประชาชนมารวมกลุ่มช่วยกันผลิตสินค้า และสนับสนุนพัฒนาให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเราทำงานในลักษณะประชารัฐ แต่ส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องในความสำเร็จในคือเรื่องการตลาด โดยก่อนที่จะเกิดสถานการณ์โควิด-๑๙เราประสบความสำเร็จอย่างมากในการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค่า OTOP ที่เมืองทองธานี แต่เมื่อเจอสถานการณ์โควิด-๑๙ เราก็ได้โอกาสปรับตัวคือ ช่วยทำให้สินค้าเข้ามาอยู่ในโลกดิจิทัล เปลี่ยนมาขายออนไลน์ในทุกจังหวัด และอีกส่วนหนึ่งก็ได้จับมือกับแพลตฟอร์มเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น OTOP TODAY รวมถึงร่วมมือกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และได้รับการตอบรับที่ดี
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า อีกเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง คือมติคณะรัฐมนตรี ได้มีมติส่งเสริมให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และประชาชนชาวไทยสวมใส่ผ้าไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง ซึ่งประมาณ ๒๐% จากผู้ประกอบการร้านค้า OTOP กว่า ๘ หมื่นราย เป็นผู้ประกอบการเกี่ยวกับผ้า ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน และเป็นสินค้าที่ยอดขายดีมาก ถือเป็นความภาคภูมิใจของกรมการพัฒนาชุมชน สินค้าในงาน OTOP To The Town ล้วนแต่มีคุณภาพระดับพรีเมี่ยม และคุ้มค่า คุ้มราคา จึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกคนแวะมาเยี่ยมชมและให้กำลังใจพี่น้อง OTOP ที่กระจายการขายอยู่ในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ด้วยครับ
สำหรับ งาน "OTOP To The Town : โอทอป ภูมิปัญญาไทย ใจกลางเมือง ช่วยคนไทยหลังฝ่าภัยโควิด" กำหนดจัดขึ้นภายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำใจกลางกรุงเทพฯ ทั้งสิ้น ๑๑ ครั้ง ระหว่างเดือน ก.ค.ถึง ก.ย. ๒๕๖๓ ได้แก่ (๑) เซ็นทรัลเวิลด์ ๑๐ – ๑๕ ก.ค. (๒) ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ๑๓ – ๑๗ ก.ค (๓) ไอคอนสยาม ๑๗ – ๒๒ ก.ค. (๔) เซ็นทรัล บางนา ๒๓ – ๒๙ ก.ค. (๕) เซ็นทรัลพระราม ๙ ๑๗ – ๒๓ ส.ค. (๖) สยามสแควร์ ๒๐ – ๒๓ ส.ค.(๗) เดอะมาร์เก็ต ๘-๑๓ ก.ย.(๘) เซ็นทรัลอีสต์วิลล์ ๘ – ๑๔ ก.ย. (๙) เซ็นทรัลพระราม ๓ ๑๐ – ๑๖ ก.ย. (๑๐) สยามพารากอน ๑๐ – ๑๖ก.ย.และ (๑๑ ) เซ็นทรัลพระราม ๓ ๑๗ – ๒๓ ก.ย.จึงขอเชิญทุกท่านร่วมเลือกซื้อและอุดหนุนสินค้าโอทอป เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนสืบไป

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๔๔๑ . องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ในจังหวัดอุดรธานี นำชาวชุมชน เสริมบุญ สร้างบารมี รำเซิ้ง แห่เทียน สืบทอดประเพณีวันเข้าพรรษา เป็นตัวอย่างแก่ลูกหลาน ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๓ นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับ รศ.ดร.กฤตติกา แสนโภชน์ นายกสมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติจังหวัดอุดรธานี แพทย์หญิงเฉลิมวรรณ ศศิประภา นายกสมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี นำคณะกรรมการ และสมาชิก ๓ องค์กร ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมีนักศึกษาและพ่อแม่พี่น้องชาวอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ร่วมใจจัดริ้วขบวน รำเซิ้ง สืบทอดประเพณีแห่เทียนพรรษา เข้าวัดซึ่ง ประเพณีสำคัญทางพุทธศาสนา ของชาวจังหวัดอุดรธานี ที่มีความเจริญในพุทธศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ ที่ชาวอุดรธานีสืบทอดจัดให้มีขึ้นทุกปี ณ วัดโนนสว่าง(หลวงพ่อเจริญ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
นางกอบแก้ว คงน้อย นายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับ สมาคมแม่ดีเด่นแห่งชาติจังหวัดอุดรธานี สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย อุดรธานี นำคณะกรรมการ และสมาชิก ๓ องค์กร ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีและชาวอำเภอหนองวัวซอจังหวัดอุดรธานี ถวายผ้าอาบน้ำฝน ตั้งโรงทานข้าวมันไก่ ๕๐๐ จาน พร้อมทั้งถวายปัจจัยจำนวนเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท ที่วัดโนนสว่าง(หลวงพ่อเจริญ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เนื่องในวันเข้าพรรษา โดยทั้ง ๓ สมาคม ซึ่งเป็นองค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ มีความภาคภูมิใจในการร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการนำชาวชุมชน เสริมบุญ สร้างบารมี อนุรักษ์สืบสานประเพณีสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่ถือปฏิบัติมาแต่โบราณ ให้ลูกหลาน ได้รักษาประเพณีอันดีงามสืบต่อไป

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๔๔๐. สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ “ปลูกผักสวนครัว สู่ชุมชน”ขานรับนโยบายปฏิบัติการ Quick Win ๙๐ วัน ปลูกผักที่กิน กินผักที่ปลูก ในช่วงแพร่ระบาดโควิด-๑๙ ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓

วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติฯสมัยที่ ๒๖ ( พ.ศ. ๒๕๖๑- พ.ศ. ๒๕๖๔) นำกรรมการ และสมาชิกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ เข้าร่วมกิจกรรม "ปลูกธรรม ปลูกผัก ตามหลัก"บวร" จากวัดสู่ชุมชน ตามนโยบายปฏิบัติการ Quick Win ๙๐ วัน ของสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน ในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของกรมพัฒนาชุมชน ณ วัดเจ็ดยอด ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จัดโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยมีเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ พระเดชพระคุณ “พระเทพปริยัติ” เจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ นายสราวุฒิ วรพงษ์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ร่วมปลูกผักสวนครัวในพื้นที่ สัญลักษณ์ธรรมจักร
นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ กล่าวว่า สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ได้ถวายเมล็ดพันธุ์ผัก แด่พระเดชพระคุณ “พระเทพปริยัติ” เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง และร่วมปลูกผักสวนครัวในพื้นที่สัญลักษณ์ธรรมจักร โครงการปลูกผักสวนครัวจากวัดสู่ชุมชน ตามหลัก “บวร” เพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤกติโควิค ๑๙ และการขานรับนโยบาย Quick Win ๙๐ วัน ในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ ผลตอบรับแผนปฏิบัติการ ๙๐ วัน เริ่มจากกรรมการและสมาชิกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ เป็นต้นแบบปลูกผักสวนครัวที่บ้านเราเองและขยายผล แสดงให้พี่น้องประชาชนเห็นผล ร่วมกันปลูกผักสวนครัว ที่บ้านเราเอง ทำให้มีผักกินเองในบ้านโดยที่ไม่ต้องซื้อหาจากข้างนอก ตามแนวคิดของ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ปลูกผักที่กิน กินผักที่ปลูก ประหยัดรายจ่าย เท่ากับเพิ่มรายได้ แบ่งปันกันระหว่างเพื่อนบ้าน ระหว่างคนในชุมชน และเมื่อเป็นผักที่ปลูกเองก็จะระมัดระวังเรื่องสารเคมีต่างๆ กลายเป็นพืชผักปลอดภัยที่เสริมสร้างสุขภาพร่างกายอีกด้วย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๔๓๙. สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ขานรับนโยบายปฏิบัติการ Quick Win ๙๐ วัน จัดโครงการ "สตรีแบ่งปันรัก ปลูกผักเพื่อเด็กบ้านเฮา" ร่วมกับกรรมการพัฒนาสตรีตำบลหนองหอย

วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติฯสมัยที่ ๒๖ ( พ.ศ. ๒๕๖๑- พ.ศ. ๒๕๖๔) นำกรรมการ และสมาชิกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ จัดโครงการ "สตรีแบ่งปันรัก ปลูกผักเพื่อเด็กบ้านเฮา" ร่วมกับกรรมการพัฒนาสตรีตำบลหนองหอย มอบเมล็ดพันธ์ผัก และร่วมกิจกรรมปลูกผักสวนครัว เพื่อขยายผลโครงการปลูกธรรม ปลูกผัก ตามหลัก"บวร" จากวัดสู่ชุมชน ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในช่วงวิกฤตโควิด ๑๙ ของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองเชียงใหม่ และเป็นการต่อยอดโครงการ “ปลูกผักสวนครัว สู่ชุมชน” ของสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ โดยมีปลัดเทศบาลตำบลหนองหอย นางสาวบงกช เบ็ญมาตร์ กล่าวต้อนรับ ประธานสตรีตำบลหนองหอย นางสาวนันทกา กัลยาณพันธ์ กล่าววัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ "สตรีแบ่งปันรัก ปลูกผักเพื่อเด็กบ้านเฮา" เพื่อขยายผลโครงการปลูกธรรม ปลูกผัก ตามหลัก"บวร" จากวัดสู่ชุมชน ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองหอย
นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ กล่าวว่าสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ดำเนินการตามนโยบาย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชน “น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ ๙๐ วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ระยะสั้นทั้งในระดับครัวเรือนและระดับกลุ่มอาชีพ โดยประกาศเป็นปฏิบัติการ Quick Win ๙๐ วัน ในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ได้รับการสนับสนุน ร่วมมือร่วมใจจากกรรมการสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ทุกท่าน โดยเริ่มจากปลูกผักสวนครัวที่บ้านตนเอง เป็นต้นแบบ และขยายผล โครงการปลูกธรรม ปลูกผัก ตามหลัก"บวร" จากวัดสู่ชุมชน ทั้งนี้สมาคมฯ จะติดตามผล และเชิญชวนให้ทุกครัวเรือนในจังหวัดเชียงใหม่ ปลูกผักสวนครัว ตามนโยบายของสภาสตรีแห่งชาติ และกรมการการพัฒนาชุมชนต่อไป

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีชาติฯ

๔๓๘. สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสตรีแห่งชาติฯ จัดโครงการ “ปลูกผักสวนครัว สู่ชุมชน”ขานรับนโยบายปฏิบัติการ Quick Win ๙๐ วัน ในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓

วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ น. นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ และในฐานะกรรมการอำนวยการสภาสตรีแห่งชาติฯสมัยที่ ๒๖ ( พ.ศ. ๒๕๖๑- พ.ศ. ๒๕๖๔) นำกรรมการ และสมาชิกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ มอบเมล็ดพันธุ์ผักในโครงการ "ปลูกผักสวนครัว สู่ชุมชน" ตามนโยบาย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ สมัยที่ ๒๖ ( พ.ศ. ๒๕๖๑- พ.ศ. ๒๕๖๔) ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการ ปฏิบัติการ Quick Win ๙๐ วัน ในช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ดำเนินการระหว่างวันที่ ๑ เมษายน – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ โดยมี นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ นายสราวุฒิ วรพงษ์ เป็นประธาน นายสุวรรณ เกตุดำ พัฒนาการอำเภอเมืองเชียงใหม่ นายศิริพัฒน์ กาวิละ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าศาลา ให้เกียรติมาร่วมเป็นสักขีพยานในการมอบเมล็ดพันธุ์ผัก ณ ห้องประชุมสหกิจ เทศบาลตำบลท่าศาลา
นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติ ดำเนินการตามนโยบาย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ขยายผลโครงการปลูกผักสวนครัวจากวัดสู่ชุมชน ตามหลัก “บวร” เพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤกติโควิค ๑๙ และสร้างความมั่นคงทางอาหาร ไปสู่ครัวเรือนเป้าหมาย โดยมอบเมล็ดพันธุ์ผักผ่านนายอำเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อมอบให้กับกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอเมือง นำไปแจกจ่ายพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ๙ ตำบล และ ๑ เทศบาลนคร ประกอบด้วย ต.หนองหอย ต.ท่าศาลา ต.หนองป่าครั่ง ต.ฟ้าฮ่าม ต.สันผีเสื้อ ต.ช้างเผือก ต.สุเทพ ต.แม่เหียะ ต.ป่าแดด และเทศบาลนครเชียงใหม่


ฝ่ายประชาสัมพันธ์คณะกรรมการบริหาร
สภาสตรีแห่งชาติฯ

๔๓๗. สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ จัดโครงการ ปันน้ำใจช่วยชาวประชา ในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓ นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ นำกรรมการและสมาชิก ร่วมกันมอบถุงยังชีพให้ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส จำนวน ๑,๒๑๐ ครอบครัว โดยมี นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน นายรัฐพล นราดิศร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายวิษณุ วิทยวราวัฒน์ ท้องถิ่นเชียงใหม่ นายอาทร พิมชะนก พัฒนาการ จังหวัดเชียงใหม่ และนางจิราพร เชาวน์ประยูร์ ยามาโมโต้ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดและองค์กรเครือข่าย ผู้แทนจากอำเภอต่างๆ ได้ให้เกียรติมาร่วมเป็นสักขีพยานในการมอบถุงยังชีพ ในโครงการ ปันน้ำใจช่วยชาวประชา ณ สนามหน้าอนุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่
ในการนี้ นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ได้กล่าวรายงานถึง สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ได้มุ่งเน้นกิจกรรมด้านสังคมสงเคราะห์บำเพ็ญประโยชน์ โดยเป็นการรวมพลังของสตรี เพื่อร่วมช่วยเหลือ ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อ Covid ๑๙ ทางสมาคมฯ ได้จัดทำโครงการปันน้ำใจช่วยชาวประชา โดยการแจกอาหารกลางวันให้ประชาชน จำนวน ๑,๘๐๐ ชุด ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จำนวน ๙ ตำบล ระหว่างวันที่ ๑-๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ และจัดทำถุงยังชีพจำนวน ๑,๒๑๐ ครอบครัว โดยใช้งบประมาณจากการจัดกิจกรรมของสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ทั้งสิ้น ๕๕๕,๐๐ ๐ บาท (ห้าแสนห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และได้มอบผ่านท่านผู้ว่าราชการจังหวัด เชียงใหม่ มอบให้กับเครือข่ายสตรีผู้แทนจาก ๘ อำเภอ เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ ได้แก่อำเภอเมืองเชียงใหม่ ( ๙ ตำบล) และ อ.สารภี อ.หางดง อ.สันทราย อ.สันป่าตอง อ.แม่ริม อ.แม่ออน อ.แม่อาย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหาร สภาสตรีแห่งชาติฯ

๔๓๖. สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ องค์กรสมาชิกสภาสตรีแห่งชาติฯ ร่วมสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีถวายเทียนพรรษา

วันพฤหัสบดี ที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓ นางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายกสมาคมสตรีนครเชียงใหม นำคณะกรรมการสมาคมและสมาชิกสมาคมฯ ร่วมสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีถวายเทียนพรรษาเป็นพุทธบูชา แต่องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปีนี้สมาคมสตรีนครเชียงใหม่ นำโดยนางสาววรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ พร้อมกรรมการสมาชิก และเครือข่ายสตรีได้จัดถวายเทียน ๕ วัด ได้แก่วัดพันอ้น วัดพระสิงห์วรวิหาร วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร วัดดวงดี และวัดเชียงมั่น
โดยสมาคมสตรีนครเชียงใหม่ ขานรับนโยบาย โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ( ๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ ) โดยการรณรงค์เชิญชวนคนไทยสวมใส่ผ้าไทย เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยว ในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการแต่งกายชุดพื้นเมือง นั่งรถราง เสน่ห์แห่งล้านนา ไหว้พระ ถวายเตียน วษา แอ่วรอบเวียงเชียงใหม่ รถรางอันงดงาม และทรงคุณค่า จากวัดศรีสุพรรณ นามว่า รถยศวดีหิรัญนคร แปลว่านครเงินของพระนางยศวดี ซึ่งอุโบสถวัดศรีสุพรรณ เป็นแห่งเดียวในโลกที่เป็นเงินอันทรงคุณค่าแห่งเมืองเชียงใหม่ พร้อมรถรางในขบวนของเทศบาลเมืองแม่เหียะ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ

๔๓๕. ฝายวิชาการ สภาสภาสตรีแห่งชาติฯ ขานรับนโยบายประธานสภาสตรีแห่งชาติ รณรงค์สวมใส่ผ้าไทย และปลูกผักสวนครัว เริ่มจากตัวเราเอง ก่อนขยายผลสู่ชุมชน

เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ ฝ่ายวิชาการ จัดประชุมคณะกรรมการ โดยนางกรแก้ว วิริยะวัฒนา ประธานฝ่ายวิชาการ แจ้งว่า ดร. วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน นำ โครงการ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” เสนอนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ( ๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ ) โดยการรณรงค์เชิญชวนคนไทยสวมใส่ผ้าไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละสองวัน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม อันล้ำค่า รากเหง้าจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่สะท้อนให้เห็นบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ด้วยการถ่ายทอดหัตถกรรมผ่านผ้าทอจากบรรพชนสู่คนรุ่นปัจจุบัน ด้วยการส่งเสริมและเผยแพร่ ผ้าพื้นถิ่นไทยให้ดำรงคงอยู่ปรากฏเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย
ฝ่ายวิชาการ สภาสตรีแห่งชาติ จึงขอเชิญชวนเริ่มจากคณะกรรมการฝ่ายวิชาการทุกท่าน แต่งกายด้วยชุดผ้าไทย เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่อัตตลักษณ์ผ้าไทยให้ดำรงคงอยู่ และสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ แก่พี่น้องประชาชนในท้องถิ่นชุมชน ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
นอกจากนี้ ฝ่ายวิชาการ ร่วมให้การสนับสนุน โครงการปลูกผักสวนครัว ระยะที่ ๒ สร้างวัฒนธรรมปลูกพืชผักประจำครัวเรือน โดยขานรับนโยบาย การดำเนินการขับเคลื่อน เริ่มระหว่าง ๑ กรกฎาคม – ๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ หลักการ คือ จะพัฒนาใครเขาต้องเริ่มจากตัวเราก่อน โดยคณะกรรมการฝ่ายวิชาการ พร้อมใจปลูกผักสวนครัว เป็นต้นแบบ ทำให้ครบวงจร ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวแบบเข้าถึงทุกครัวเรือน และสร้างเครือข่ายขยายผล ซึ่งเป็นแนวทางขับเคลื่อนที่เข้มแข็งและประสบผลสำเร็จแล้ว ของกรมการพัฒนาชุมชน ในระยะที่ ๑

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการบริหารสภาสตรีแห่งชาติฯ